วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ร้อนสุด ๆ หนาวสุด ๆ

ร้อนสุด ๆ หนาวสุด ๆ
          ในแต่ละพื้นที่บนโลกเรานี้ บางพื้นที่ก็เป็นเขตอบอุ่นบางพื้นที่ก็เป็นเขตร้อน บางพื้นที่ก็เป็นเขตหนาวเย็น ซึ่งความอบอุ่น ความร้อน หรือความหนาวเย็นของแต่ละพื้นที่ยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาอีกด้วย 
         อุณหภูมิสูงสุด หรือร้อนที่สุดในโลกคือ 58 องศาเซลเซียส วัดได้เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.4922 ที่เขตอัลอาซิซิยาห์ ในทะเลทรายซาฮารา ประเทศลิเบีย และที่ร้อนเกือบตับแตกพอกัน คือวัดได้ 56.7 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1913 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา 
         บางคนอาจคิดว่า พื้นที่ที่มีอุณภูมิที่สูงที่สุดในโลกน่าจะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน หรือพื้นที่ที่อยู่บริเวณเส้นรุ้ง 23 องศาเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะถึงแม้พื้นที่ในเขตนี้จะมีอากาศร้อนตลอดทั้งปีแต่ก็มีเมฆปกคลุมอยู่มากด้วย โอกาสฝนตกจึงยังมีมากพอที่จะช่วยให้อากาศไม่ร้อนเท่าในอีกบางพื้นที่ 
         อย่างเช่นในพื้นที่ทะเลทรายเขตร้อนนั้น ในช่วงกลางฤดูร้อน ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหัว แถมฝนยังตกน้อยเมฆก็มีน้อยมาก เพราะฉะนั้นในเขตนี้จึงมีแสงแดดจัดจ้าและอากาศร้อนจัดตลอดวันทั้งปี 
         ทางเขตตะวันออกของทะเลทรายซาฮารา มีแสงแดดจัดจ้ามากกว่าทุกพื้นที่ในโลกนี้ จากที่เคยมีการบันทึกไว้ปรากฏว่าตลอดทั้งปีมีแสงอาทิตย์สาดส่องอยู่มากถึง 4,300 ชั่วโมง คิดเฉลี่ยแล้วในวันหนึ่งวันจะมีแสงอาทิตย์แผดกล้าอยู่นานถึง 11 ชั่วโมงกับอีก 47 นาที ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อุณหภูมิสูงสุดของโลกจะวัดได้ที่ทะเลทรายซาฮาราแห่งนี้นี่เอง 
         ส่วนที่หุบเขามรณะ หรือเดดวัลเลย์ ซึ่งเป็นทะเลทรายในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกานั้น อุณหภูมิที่ขึ้นสูงถึง 50 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน ก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกเหมือนกัน เพราะนี่คืออุณหภูมิปกติของพื้นที่แห่งนี้ 
         ส่วนอุณหภูมิต่ำสุด หรือหนาวที่สุดในโลกนั้นบันทึกได้จากทวีปแอนตาร์กติกาทางซีกโลกใต้ เมื่อฤดูหนาวของเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1983 อุณหภูมิที่นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียวัดได้ขณะนั้นคือ -89.2 องศาเซลเซียสก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างสถานีตรวจสอบสภาพอากาศที่มีเครื่องมือทันสมัยขึ้นในทวีปแอนตาร์กติกานั้นอุณหภูมิต่ำสุดในโลกที่วัดได้คือ -68 องศาเซลเซียส โดยวัดได้ที่เขตเวอรีโฮยานค์ สาธารณรัฐไซบีเรีย ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากนี้ เขตนี้ยังได้ว่าเป็นเขตที่มีช่วงต่างระหว่างอุณหภูมิต่ำสุดในโลกที่วัดได้คือ -68 องศาเซลเซียส โดยวัดได้ที่เขตเวอรีโฮยานค์ สาธารณรัฐไซบีเรีย ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากนี้ เขตนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นเขตที่มีช่วงต่างระหว่างอุณหภูมิร้อนและเย็นที่กว้างมากที่สุดในโลกด้วย คือมีตั้งแต่ฤดูหนาวที่เย็นจัดขนาด -68 องศาเซลเซียส จนถึงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงถึง 36.7 องศาเซลเซียส
          ในแต่ละพื้นที่บนโลกเรานี้ บางพื้นที่ก็เป็นเขตอบอุ่นบางพื้นที่ก็เป็นเขตร้อน บางพื้นที่ก็เป็นเขตหนาวเย็น ซึ่งความอบอุ่น ความร้อน หรือความหนาวเย็นของแต่ละพื้นที่ยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาอีกด้วย          อุณหภูมิสูงสุด หรือร้อนที่สุดในโลกคือ 58 องศาเซลเซียส วัดได้เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.4922 ที่เขตอัลอาซิซิยาห์ ในทะเลทรายซาฮารา ประเทศลิเบีย และที่ร้อนเกือบตับแตกพอกัน คือวัดได้ 56.7 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1913 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา 
         บางคนอาจคิดว่า พื้นที่ที่มีอุณภูมิที่สูงที่สุดในโลกน่าจะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน หรือพื้นที่ที่อยู่บริเวณเส้นรุ้ง 23 องศาเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะถึงแม้พื้นที่ในเขตนี้จะมีอากาศร้อนตลอดทั้งปีแต่ก็มีเมฆปกคลุมอยู่มากด้วย โอกาสฝนตกจึงยังมีมากพอที่จะช่วยให้อากาศไม่ร้อนเท่าในอีกบางพื้นที่ 
         อย่างเช่นในพื้นที่ทะเลทรายเขตร้อนนั้น ในช่วงกลางฤดูร้อน ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหัว แถมฝนยังตกน้อยเมฆก็มีน้อยมาก เพราะฉะนั้นในเขตนี้จึงมีแสงแดดจัดจ้าและอากาศร้อนจัดตลอดวันทั้งปี 
         ทางเขตตะวันออกของทะเลทรายซาฮารา มีแสงแดดจัดจ้ามากกว่าทุกพื้นที่ในโลกนี้ จากที่เคยมีการบันทึกไว้ปรากฏว่าตลอดทั้งปีมีแสงอาทิตย์สาดส่องอยู่มากถึง 4,300 ชั่วโมง คิดเฉลี่ยแล้วในวันหนึ่งวันจะมีแสงอาทิตย์แผดกล้าอยู่นานถึง 11 ชั่วโมงกับอีก 47 นาที ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อุณหภูมิสูงสุดของโลกจะวัดได้ที่ทะเลทรายซาฮาราแห่งนี้นี่เอง 
         ส่วนที่หุบเขามรณะ หรือเดดวัลเลย์ ซึ่งเป็นทะเลทรายในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกานั้น อุณหภูมิที่ขึ้นสูงถึง 50 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน ก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกเหมือนกัน เพราะนี่คืออุณหภูมิปกติของพื้นที่แห่งนี้ 
         ส่วนอุณหภูมิต่ำสุด หรือหนาวที่สุดในโลกนั้นบันทึกได้จากทวีปแอนตาร์กติกาทางซีกโลกใต้ เมื่อฤดูหนาวของเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1983 อุณหภูมิที่นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียวัดได้ขณะนั้นคือ -89.2 องศาเซลเซียสก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างสถานีตรวจสอบสภาพอากาศที่มีเครื่องมือทันสมัยขึ้นในทวีปแอนตาร์กติกานั้นอุณหภูมิต่ำสุดในโลกที่วัดได้คือ -68 องศาเซลเซียส โดยวัดได้ที่เขตเวอรีโฮยานค์ สาธารณรัฐไซบีเรีย ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากนี้ เขตนี้ยังได้ว่าเป็นเขตที่มีช่วงต่างระหว่างอุณหภูมิต่ำสุดในโลกที่วัดได้คือ -68 องศาเซลเซียส โดยวัดได้ที่เขตเวอรีโฮยานค์ สาธารณรัฐไซบีเรีย ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากนี้ เขตนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นเขตที่มีช่วงต่างระหว่างอุณหภูมิร้อนและเย็นที่กว้างมากที่สุดในโลกด้วย คือมีตั้งแต่ฤดูหนาวที่เย็นจัดขนาด -68 องศาเซลเซียส จนถึงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงถึง 36.7 องศาเซลเซียส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น