วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นายกรัฐมนตรีไทย

นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานรัฐสภา[1] จากผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีใช้อยู่ในขณะนั้น โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประวัติ
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[2] และภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก็เปลี่ยนมาเรียก "นายกรัฐมนตรี"[3]

 การดำรงตำแหน่ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่า สภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีมติเห็นชอบให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นตัวแทนหรือหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีใช้ผลบังคับอยู่ในขณะนั้น เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้น พระมหากษัตริย์ไทยจึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป
ตำแหน่งรายนามพรรคการเมืองได้รับเลือกโดยสภาฯเริ่มดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรพรรคเพื่อไทย5 สิงหาคม พ.ศ. 25545 สิงหาคม พ.ศ. 2554

 การปฏิบัติหน้าที่

นายกรัฐมนตรีจะมีวาระดำรงตำแหน่งคราละสี่ปี แต่จะอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้[1]
นายกรัฐมนตรีอาจพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง และมีผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะด้วย[1]

 สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา ทั้งนี้ ยกเว้น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ซึ่งปฏิบัติงานที่อาคารสำนักงาน และอาคารรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานดอนเมือง จากการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ชุมนุม
สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในเวลาที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น
ตำแหน่งรายนามพรรคการเมืองเริ่มดำรงตำแหน่ง
รองนายกรัฐมนตรียงยุทธ วิชัยดิษฐพรรคเพื่อไทย9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
รองนายกรัฐมนตรีเฉลิม อยู่บำรุงพรรคเพื่อไทย9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
รองนายกรัฐมนตรียุทธศักดิ์ ศศิประภา-18 มกราคม พ.ศ. 2555
รองนายกรัฐมนตรีกิตติรัตน์ ณ ระนอง-9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
รองนายกรัฐมนตรีชุมพล ศิลปอาชาพรรคชาติไทยพัฒนา9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

 อดีตนายกรัฐมนตรี

 อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่

 รักษาการนายกรัฐมนตรี

รักษาการนายกรัฐมนตรีจะเกิดขึ้นต่อเมื่อในขณะนั้นประเทศไม่มีนายกรัฐมนตรี โดยอาจเนื่องด้วยการรัฐประหาร การลาพักราชการของนายกรัฐมนตรี หรือรักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น การถูกตัดสินว่าต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง การยุบสภา หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีจะกำหนดบุคคลผู้บริหารราชการแทนเอาไว้เสมอตั้งแต่แรก ผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีจะทำหน้าที่เสมือนนายกรัฐมนตรี ที่ต้องกำหนดไว้เพราะนายกรัฐมนตรีทุกคนจำเป็นต้องทำงานกับต่างประเทศจึงมีบางยามที่ไม่อยู่ในประเทศ กฎหมายจึงกำหนดให้มีผู้รักษาราชการแทน หรือกำหนดไว้เพื่อป้องกันยามที่นายกรัฐมนตรีถูกศาลตัดสินให้พ้นตำแหน่งทางการเมือง หรือถูกประทุษร้าย บาดเจ็บหนัก หรือเสียชีวิต

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น