วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

15 อสูรกายที่เหลือเชื่อในยุคดึกดำบรรพ์?

15 อสูรกายที่เหลือเชื่อในยุคดึกดำบรรพ์

อันดับ 15 Deinotherium


Click the image to open in full size.


หรือช้างงาจอบ เป็นบรรพบุรุษของช้าง ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 25 ล้านปีก่อน ที่ต่างจากช้างโบราณทั่วไปคือ ไม่มีงางอกออกจากขากรรไกรบน แต่กลับมีงางอกออกจากขากรรไกรล่าง1 คู่(คาง) งาที่งอกออกมามีลักษณะโค้งลงด้านล่าง ใช้ประโยชน์เพื่อการขุดดินหารากไม้หรือปอกเปลือกไม้เ ป็นอาหาร มีขนาดใกล้เคียงกับช้างเอเชียตัวเมีย แต่ลำตัวค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับบรรพบุรุษช้างอื่น ๆ พบครั้งแรกในแถบแอฟริกาตะวันออก ปัจจุบันพบซากดึกดำบรรพ์ที่ทวีปยุโรป เอเชีย แล ในประเทศไทย ในที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา และมาพบอีกที่บ่อดูดทราย ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ


อันดับ 14 Therizinosauridaes


Click the image to open in full size.


เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อผู้ลึกลับ เรารู้จักเรื่องราวของมันค่อนข้างน้อย เนื่องจากฟอสซิลที่สมบูรณ์ของมันมีการค้นพบไม่ค่อยมา กเท่าไหร่ จุดเด่นของมันคือมันมีคอยาว และเล็บขนาดใหญ่ และขนของนกระหว่างแขนที่มีสีสันฉูดฉาด แตกต่างไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วๆ ไป


อันดับ 13 Epidexipteryx


Click the image to open in full size.

เป็นไดโนเสาร์ญาติของแรพเตอร์ที่ถูกพบในจีนเมื่อปี 2008 ในชั้นหินอายุประมาณ 152-168 ล้านปีในสภาพที่สมบูรณ์มาก ตัวมันมีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตรและปกคลุมด้วยขนคล้ายนก ซึ่งปัจจุบันไม่แปลกแต่อย่างใดเพราะเราทราบกันดีว่าไ ดโนเสาร์นั้นเป็นบรรพบุรุษของนก ไดโนเสาร์ชนิดนี้สูงเพียง 10 นิ้ว และบินไม่ได้ หากแต่มันก็มีลักษณะพิเศษคือมีขนและหางหางยาวเฟื้อยท ี่มีสีสันฉูดฉาดใช้ดึงดูดเพศตรงข้ามให้มาผสมพันธุ์แล ะเพื่อความอบอุ่น


อันดับ 12 Epidendrosaurus


Click the image to open in full size.


มันมีชื่อหนึ่งว่า “ตะกวดต้นไม้” เป็นไดโนเสาร์ที่กำลังวิวัฒนาการเป็นนกเหมือนเจ้า Epidexipteryx เป็นไดโนเสาร์ที่วิวัฒนาการเพื่อเหมาะแก่การดำรงชีวิ ตบนต้นไม้ รูปร่างจึงมีขนาดเล็ก จุดเด่นของมันคือมันมีนิ้วสาวนิ้วที่ยาวอย่างน่าประห ลาด เมื่อเทียบกับนิ้วของไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ ทั้งๆ นี้เพราะมันใช้นิ้วนั้นเพื่อขุดหาแมลงบนต้นไม้นั้นเอ ง ส่วนฟอสซิลของมันถูกพบในทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แต่ไม่สามารถระบุอายุมันได้ แต่คาดว่ามันเคยอาศัยบนโลกเมื่อ 169 ล้านปีมาแล้ว


อันดับ 11 Microraptor






แปลว่าเจ้าโจรน้อย ไดโนเสาร์ขนาดเล็กยุคต้นครีเตเชียส(เทียบขนาดแล้วมัน เล็กเท่าต้นขาของมนุษย์ปกติเท่านั้น) เป็นไดโนเสาร์ที่บิน ที่จุดเด่นคือขนบริเวณหางที่ยาวจนเรียกว่าเป็นปีกอีก คู่ได้เลย ทำให้ดูแล้วน่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง ซึ่งปีกคู่นี้ช่วยให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้สามารถบินได้อย ่างสมดุล ไดโนเสาร์ชนิดนี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อ ปี 2000 ในประเทศจีน และเป็นฟอสซิลแรกที่พบร่องรอยชัดเจนของขน ซึ่งพบว่ามันมีชีวิตเมื่อ 120 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งการพบครั้งนี้ช่วยให้ทฤษฏีว่าไดโนเสาร์คือญาติห่ างๆ ของนกได้เป็นอย่างดี


อันดับ 10 Longisquama


Click the image to open in full size.


มีอีกชื่อว่า “จิ้งจอก” ไม่ใช้ไดโนเสาร์ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ขนาดใหญ่ ในยุคภูเขาไฟระเบิดเมื่อ 230-225 ปีมาแล้ว ดูเหมือนว่าจุดเด่นของมันคือแผงหลังสีสดและยาวใหญ่บน หลังมัน มีการพบฟอสซิลของมัน หากแต่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยังถกเถียงถึงรูปร่างจร ิงๆ ของมัน ที่มันอาจมีรูปร่างไม่เหมือนจากที่เห็นก็ได้ นอกจากนี้ยังศึกษาอีกด้วยว่ามันเป็นญาติห่างๆ ของนกหรือเปล่า


อันดับ 9 Tanystropheus





ทาไนสโตรพีอัส(Tanystropheus) มีขนาดยาวประมาณ 6 เมตร จุดเด่นคือมันมีคอยาวเฟื้อยเหมือนงูที่วัดได้ถึง 3 เมตร(10 ฟุต) สามารถยืดออกได้ไกลอีกด้วย แต่มีขาที่ค่อนข้างสั้น ทำให้มันตะเกียดตะกายเดินบนพื้นดินได้ไม่ดีนัก ดังนั้นมันจึงมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่แต่ในน้ำ ซึ่งมันสามารถที่จะวิ่ง หรือเดินไปใต้น้ำได้อย่างรวดเร็ว คอที่ยาวของมันนั้น สันนิษฐานว่าคงเอาไว้สำหรับการหายใจ คือมันจะชูคอขึ้นมาหายใจ หรือมองอะไรๆได้ในขณะที่ตัวยังอยู่ใต้น้ำ และจับปลากินด้วยคอที่แสนจะอภิมหายาวของมัน และหากหาปลาไม่ได้มันก็จะหาสัตว์น้ำชนิดอื่นกินแทน แม้มันจะมีรูปร่างคล้ายไดโนเสาร์แต่มันก็ไม่ใช่ไดโนเ สาร์ นักวิทยาศาสตร์เพียงแค่จัดมันให้อยู่ในกลุ่มสัตว์เลื ้อยคลานโบราณ ฟอสซิลของมันถูกพบที่ยุโรปและตะวันออกกลาง


อันดับ 8 Sharovipteryx


Click the image to open in full size.



มีสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดสามารถบินได้ในสมัยของไดโน เสาร์ แต่เท่าที่เรารู้มานั้นไม่มีสัตว์เลื้อยคลานที่บินได ้เหล่านี้สายพันธุ์ใดเป็นไดโนเสาร์ที่แท้จริง สัตว์เลื้อยคลานที่บินได้นี้เรียกว่า ปเตโลเสาร์ (pterosaur) บางชนิดตัวขนาดเล็กเท่านกนางแอ่นก็มี แต่ที่ตัวโตมากๆก็มีอีกเหมือนกัน

สำหรับไดโนเสาร์ตัวนี้มีลักษณะคล้ายกับเจ้า Microraptor แต่จุดเด่นคือขาติดปีกที่ยาวบนหลังมัน และสองขาติดปีกที่ขาหน้าที่มีขนาดเล็ก ซึ่งคาดว่ามันบินกระโดดไปมาแล้วร่อนลงพื้น นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามันน่าจะเกี่ยวข้องกับพวก Pterosaurs(สัตว์เลื้อยคลานบินได้) อาศัยอยู่บนต้นไม้ ซึ่งรูปร่างของมันเหมาะสมในการปีนต้นไม้นั้นเอง


อันดับ 7 Nyctosaurus


Click the image to open in full size.


นิคโธซอรัส หนึ่งในสกุลของ Pterosaurs(สัตว์เลื้อยคลานบินได้) เป็นไดโนเสาร์ที่พึ่งพบฟอสซิลมันในปี 1876 ที่แคสซัสอเมริกา และปี 2003 ก็มีการพบฟอสซิลที่สมบูรณ์ของตัวมัน มันมีชีวิตอยู่เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว จุดเด่นคือหงอนแปลกๆขนาดใหญ่(มีหลายแบบ) ไม่มีอุ้มเล็บที่ปีก ปากแหลม และขนที่มีสีสันแปลกๆ ชอบบินเหนือทะเลเพื่อจับเหยื่อในน้ำ


อันดับ 6 Pterodaustro


Click the image to open in full size.


อีกหนึ่งในสกุลหนึ่งในสกุลของ Pterosaurs(สัตว์เลื้อยคลานบินได้)อาศัยอยู่ในอเมริก าใต้เมื่อ 105 ล้านปีมาแล้ว จุดเด่นที่ขากรรไกล่างของตัวปเตโรดาอุสโตร มีลักษณะเหมือนกะชอนซึ่งเป้นกระดูกที่แข็งแกร่ง จนปากเหมือนปลาวาฬ โดยพวกมันคงจะใช้ปากกระชอนอันนี้เพื่อกรองปลาและสัตว ์ตัวเล็กๆในทะเลเอาไว้กิน


อันดับ 5 Dunkleosteus


Click the image to open in full size.


ทะเลในยุคดึกดำบรรพ์นี้ช่างน่ากลัวจริงๆ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายต่างๆ นาๆ ดังเคิลออสเตียส (dunkleosteus) เป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีขากรรไกร ขนาดตัวยาวเกือบ 10 เมตร เป็นผู้ล่าอันดับต้นๆในท้องทะเลช่วงยุคดีโวเนียน(Dev onian period) หรือประมาณ 409-363 ล้านปีก่อน ในยุคนี้ ปลาได้วิวัฒนาการพัฒนาร่างกายขึ้นจนใหญ่มหึมาและเกรา ะแข็งหุ้มอยู่นอกร่างกาย ทำหน้าที่เหมือนเกราะเหล็กของนักรบโรมัน สามารถป้องกันอันตรายให้แก่ตนเองได้ ซึ่งนอกเหนือจาก ดังเคิลออสเตียส ยังมีปลาแบบนี้มากมายหลายชนิดเลยทีเดียว

ดังเคิลออสเตียส เป็นปลาหุ้มเกราะขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมา ขนาดลำตัวยาวประมาณ 33 ฟุตหรือ 10 เมตร (มีความยาวเทียบได้กับรถยนต์ 3 คัน) ฟันมีแรงกัดเทียบเท่ากับ T-rex คือ 562 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เรียกว่าเคี้ยวซีเมนต์ได้สบาย ๆ ความลับของความคมนี้คือขากรรไกรอันประกอบขึ้นจากแผ่น กระดูกคมกริบหลายแผ่น แทนที่จะเป็นขากรรไกรแล้วมีฟันเรียงเป็นซี่ๆแบบแเดีย วกับปลา

เจ้าดังเคิลออสเตียส จึงจัดเป็นนักล่าแห่งท้องทะเลที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุด ของห่วงโซ่อาหาร ด้วยขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงของมันจึงสามารถเคี้ยวห อยเปลือกหนา ๆ ล่าฉลามซึ่งอยู่ในยุคเดียวกับมัน แต่มันกลับสูญพันธุ์ไปในระยะเวลาอันสั้น ส่วนหัวปลานี้ถูกค้นพบที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา หัวของมันก็หนักถึง 1 ตัน

แม้เจ้าดังเคิลออสเตียสจะมีเกราะแข็งแกร่ง แต่มันก็เป็นจุดอ่อนของมันเช่นกัน คือสำหรับมันจึงทำใหัมันไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายไ ด้คล่องแคล่วเท่าที่ควร


อันดับ 4 Stethacanthus


Click the image to open in full size.


สเตธาแคนทัส (Stethacanthus) ฉลามกระดานเหล็ก อยู่ในยุคเดียวกับดังเคิลออสเตียส เป็นฉลามที่ยังสลัดเกราะเหล็กออกไม่หมด ยังคงมีเกราะหนาอยู่บริเวณหัวและครีบกระโดงของมัน แม้มันจะตัวไม่ใหญ่เท่าดังเคิลโอสเตอัส แต่มันว่องไวกว่า เพราะไม่ต้องหนักเกราะเหล็กอันมหึมาเหมือนพวกปลาโบรา ณ อีกทั้งยังพัฒนาประสาทสัมผัสที่ไวต่อกระแสไฟฟ้าและกล ิ่น แม้เพียงเลือดหยดเดียวในน้ำทะเล พวกมันก็จะได้กลิ่นอย่างง่ายดาย และสะกดรอยตามเหยื่อที่บาดเจ็บไปอย่างหิวกระหาย ก่อนจะกัดซ้ำที่แผลเดิมของเหยื่อ แม้กระทั่งดังเคิลโอสเตอัส ถ้าดันกัดกันเองแล้วเกิดเป็นแผลเลือดไหล และกับส่วนที่ยื่นมาบนหลังเหมือนครีบพับได้ มีไว้เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม


อันดับ 3 Helicoprion


Click the image to open in full size.


“เฮลิโคไพรออน” (Helicoprion-Spiral Saw) หรือฉลามฟันเลื่อยเป็นสกุลปลากลุ่มเดียวกับฉลามหรือป ลากระดูกอ่อน อยู่ในลำดับปลาที่มีจุดเด่นตรงที่มีฟันแหลมคล้ายเลื่ อย (Eugeneodontida) เริ่มปรากฏขึ้นในช่วง 280 ล้านปีก่อน และสูญหายในช่วงต้นยุคไทรแอสสิคประมาณ 225 ล้านปีก่อน สิ่งที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงส่วนฟันแข็งแรงขดเป็นวง คล้ายก้นหอย สร้างความมึนงงแก่เหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญไม ่น้อย เพราะจินตนาการกันไม่ออกว่าเป็นฟันของสัตว์ชนิดใด จนเมื่อมีการค้นพบกะโหลกศีรษะฉลามสายพันธุ์ใกล้ชิดกั นชื่อว่า Omithoprion จึงถึงบางอ้อ!! ว่ามันเป็นส่วนของขากรรไกรล่างของฉลามสายพันธุ์หนึ่ง โดยมีปากม้วนเป็นวงเอาฟันอายุมากที่มีขนาดเล็กกว่าไว ้ด้านใน

ฟอสซิลของเฮลิโคไพรออนพบในหลายพื้นที่ของสหรัฐ เช่น ทางภาคตะวันออกของรัฐไอดาโฮ, ยูทาห์ และทางภาคตะวันตกของรัฐไวโอมิง จากฟอสซิลต่างๆที่พบทำให้สามารถแยกแยะปลาสกุลนี้ได้ห ลายชนิดคือ H. ferrieri, H. sierrensis, H. nevadensis, H. davish, H. bessonovi (holotype), H. ergasaminon และ H. mexicanus ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปลาในลำดับเดียวกันแล้วเชื่อ ว่าโดยรวมๆฉลามสกุลนี้น่าจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 10-15 ฟุต และไม่น่าจะเป็นปลาที่ดุร้ายนัก แม้จะมีหน้าเป็นอาวุธก็ตาม เพราะฟันที่ม้วนยาวน่ากลัวของมันทำให้ไม่สะดวกในการก ินเหยื่อ จะกินได้ก็สัตว์จำพวกมีเปลือกแข็ง ลำตัวนิ่มๆ อย่างพวกกลุ่มหอยโบราณ ญาติๆกับหอยงวงช้างในปัจจุบัน อาจล่าปลาได้บ้างเป็นบางโอกาส แต่เชื่อว่ามันคงใช้วิธีพุ่งเข้าไปหาปลาที่อยู่รวมกั นเป็นฝูงใหญ่เสียมากกว่า

นอกจากนี้ “ฟัน” ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนของเจ้าเฮลิโคไพรออ นน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวด้วย ทำให้ว่ายน้ำได้ไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนฉลามอื่นๆ แต่ปลารุ่นหลังมีวิวัฒนาการไม่เหลือฟันขดม้วนให้เห็น อีก เหลือแต่เพียงฟันเลื่อยคมพร้อมสำหรับการเป็นนักล่าได ้เหนือกว่า


อันดับ 2 Deinocheirus


Click the image to open in full size.



ไดไนเสาร์สายพันธุ์เดอิโนเชอิรุส(deinocheirus) อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของมองโกเลีย ประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว แต่ปัญหาของเราคือเราไม่เคยเห็นตัวของมันเลย รู้แต่ว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อเหมือนชนิดอื่นๆ แต่ยังไม่ชัด เราก็ได้แต่เดากันว่ารูปร่างของมันเป็นอย่างนั้นอย่า งนี้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราพบแต่ส่วนที่เป็นแขนและอุ้งเล็บ ของมันเท่านั้น ซึ่งเท่าที่ดูจากโครงสร้างพบว่ามันมีแขนที่ยาวกว่าตั วมันหลายเท่า และอุ้มมือของมันใหญ่มากผิดปกติ มันก็คืออาวุธที่ทรงพลังสามารถฉีดเนื้อเหยื่ออย่างง่ ายดาย และมันสามารถใช้ปีนต้นไม้ได้อย่างสบาย





อันดับ 1 Amphicoelias fragillimus



Click the image to open in full size.


แอมฟิซีเลียส ฟราจิลลิมัส (Amphicoelias fragillimus) เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์กินพืชที่ใหญ่ที่สุดเคยมีในโลก ที่มีน้ำหนักราว 122 ตัน และยาวประมาณ 40-60 เมตร แต่ที่น่าเหลือเชื่อก็คือเราค้นพบฟอสซิลของมันยากเหล ือเกินคาดว่ามันจะเป็นสัตว์หายาก กระดูกที่ค้นพบส่วนมากจะเป็นกระดูกชิ้นเดียวที่มีขนา ดถึง 5 ฟุต สูงประมาณ 8.8 ฟุต หากได้ฟอสซิสครบถ้วนละก็มันจะกลายเป็นสัตว์ที่ยาวกว่ าปลาวาฬสีน้ำเงินอย่างแน่นอน หากแต่จนบัดนี้เราก็ไม่ได้พบฟอสซิลที่ครบถ้วนของมันเ ลย มันเป็นภาพลวงตาหรือเรื่องหลอกลวงกันแน่?

เมื่อไม่นานมานี้ มีนักล่าฟอสซิลสมัครเล่น พบรอยเท้าไดโนเสาร์กว่า 20 รอย บนที่ราบสูง ในบริเวณพื้นราบสูงของเทือกเขายูรา (Jura plateau at Plagne) ใกล้กับทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองลียงในฝรั่งเศส โดยพบรอยเท้าไดโนเสาร์ซอโรพอดกว่า 20 รอย กินบริเวณกว้างราว 10 เฮคตาร์ (0.1 ตารางกิโลเมตร) รอยเท้าแต่ละรอย ฝังอยู่ในดินตะกอนยุคจูราสสิค วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1.2-1.5 เมตร คาดว่าเจ้าของรอยเท้าเหล่านี้ น่าจะมีน้ำหนักประมาณ 30-40 ตัน มีความยาวกว่า 25 เมตร และทิ้งรอยเท้าไว้ตั้งแต่เมื่อ 150 ล้านปีก่อน ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่บริเวณนี้มีสภาพเป็นทะเลที่ไม่ ลึกนัก และคาดว่ายังมีรอยเท้าไดโนเสาร์ในบริเวณนี้ ที่ยังสำรวจไม่พบอีกนับร้อยหรือพันรอยเท้าได้ ซึ่งทีมวิจัยจะสำรวจต่อในปีหน้า และหากค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เพิ่มเติมดังที่คาด บริเวณนี้จะกลายเป็นบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีกา รค้นพบรอยสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ และเชื่อว่าหากสำรวจต่ออาจได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์ และอาจได้พบตัว แอมฟิซีเลียส ฟราจิลลิมัส ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น