วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน


1. แบ่งตามลักษณะกายภาพ ได้แก่
      1.1 น้ำพุร้อนไกเซอร์ (Geyser) เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังแรงมาก มีน้ำและไอน้ำที่ร้อนจัดพุ่งขึ้นมาได้สูงและมีแรงพุ่งออกมาเป็นระยะๆ ค่อนข้างสม่ำเสมอ บางแห่งน้ำอาจพุ่งสูงได้ถึง 60 เมตร ระยะเวลาการพุ่งน้ำออกมาจะเท่าๆ กัน เช่น 5 นาที 7 นาที ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการที่ใต้ผิวโลก มีโพรงกักเก็บน้ำติดต่อกัน เมื่อน้ำได้รับความร้อนในระดับลึกๆ ถูกสกัดกั้นไม่ให้ถ่ายเทได้โดยง่ายเพราะรูที่ทำให้น้ำไหลออกมามีขนาดเล็ก และมีน้ำซึ่งเย็นกว่าขังอยู่ในแอ่งที่อยู่ด้านบน น้ำที่อยู่ในระดับลึกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเมื่อสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นไอน้ำดันน้ำที่ขังอยู่ในรูไหลพุ่งขึ้นมา เมื่อไอน้ำได้ถ่ายเทพลังงานความร้อนจนหมดแรงดัน น้ำก็จะหยุดพุ่งจนสะสมความร้อนได้อีกก็จะพุ่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง น้ำพุร้อนไกเซอร์ที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำพุร้อนโอลด์ เฟธฟูล (Old Faithful) ที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellow Stone National Park) ประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำพุร้อนกีย์เซอร์ (Geysir) ประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ไกเซอร์ (Geyser) และน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งในประเทศนิวซีแลนด์

      1.2 น้ำพุร้อน (Hot Spring) หรือบ่อน้ำร้อน (Hot Pool) คือ แหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าร่างกายมนุษย์ไหลขึ้นมาจากใต้ดิน น้ำที่ขึ้นมามีตั้งแต่อุ่นๆ จนถึงเดือดพล่าน เนื่องจากทางเดินน้ำใต้ดินใหญ่ทำให้น้ำสามารถไหลเวียนอย่างรวดเร็วได้ น้ำร้อนที่ไหลขึ้นมาจะไหลออกไปจากแหล่งหรือกลายเป็นไอ เพื่อปล่อยพลังงานความร้อน เมื่อน้ำร้อนนั้นเย็นลงจะไหลกลับสู่ระบบน้ำใต้ดิน น้ำร้อนแต่ละแห่งจะมีแร่ธาตุรวมทั้งก๊าซละลายอยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ทำให้มีสีและกลิ่นแตกต่างกัน และมีปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจากแต่ละบ่อแตกต่างกัน เช่น บ่อน้ำพุร้อนที่ทะเลสาบโบโกเรีย น้ำพุร้อนนับร้อยแห่งที่ประเทศ ไอซ์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และน้ำพุร้อนในประเทศไทย เป็นต้น ถ้ามีเพียงน้ำร้อนไหลซึมขึ้นมาบนผิวดินจะเรียกว่าน้ำซึม (Seepage)

      1.3 บ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (Fumarole) คือ หลุมหรือปล่องที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมา จะไม่มีน้ำเหมือน น้ำพุร้อน สาเหตุอาจเกิดจากบริเวณนั้นมีน้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อได้รับความร้อนจึงกลายเป็นไอออกมา หรืออาจเกิดจากการที่ชั้นใต้ดินมีความร้อนสูงมากจนน้ำกลายเป็นไอจนหมด บ่อไอเดือดพบมากในประเทศที่มีภูเขาไฟ แต่ก็สามารถพบได้ในพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาไฟได้เช่นกัน

      1.4 บ่อโคลนเดือดหรือพุโคลน (Mud Pot) คือ โคลน (แอ่งตะกอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ) ซึ่งมีไอน้ำร้อนจัดอยู่เบื้องล่าง เมื่อไอน้ำนั้นเคลื่อนที่จะทำให้โคลนที่อยู่ด้านบนพุ่งกระจายขึ้นมาคล้ายการระเบิดย่อยๆ ในบริเวณภูเขาไฟ ปกติบ่อโคลนเดือดมักมีกำมะถันอยู่มากและมีหลาย
1. แบ่งตามลักษณะกายภาพ ได้แก่
      1.1 น้ำพุร้อนไกเซอร์ (Geyser) เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังแรงมาก มีน้ำและไอน้ำที่ร้อนจัดพุ่งขึ้นมาได้สูงและมีแรงพุ่งออกมาเป็นระยะๆ ค่อนข้างสม่ำเสมอ บางแห่งน้ำอาจพุ่งสูงได้ถึง 60 เมตร ระยะเวลาการพุ่งน้ำออกมาจะเท่าๆ กัน เช่น 5 นาที 7 นาที ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการที่ใต้ผิวโลก มีโพรงกักเก็บน้ำติดต่อกัน เมื่อน้ำได้รับความร้อนในระดับลึกๆ ถูกสกัดกั้นไม่ให้ถ่ายเทได้โดยง่ายเพราะรูที่ทำให้น้ำไหลออกมามีขนาดเล็ก และมีน้ำซึ่งเย็นกว่าขังอยู่ในแอ่งที่อยู่ด้านบน น้ำที่อยู่ในระดับลึกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเมื่อสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นไอน้ำดันน้ำที่ขังอยู่ในรูไหลพุ่งขึ้นมา เมื่อไอน้ำได้ถ่ายเทพลังงานความร้อนจนหมดแรงดัน น้ำก็จะหยุดพุ่งจนสะสมความร้อนได้อีกก็จะพุ่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง น้ำพุร้อนไกเซอร์ที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำพุร้อนโอลด์ เฟธฟูล (Old Faithful) ที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellow Stone National Park) ประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำพุร้อนกีย์เซอร์ (Geysir) ประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ไกเซอร์ (Geyser) และน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งในประเทศนิวซีแลนด์

      1.2 น้ำพุร้อน (Hot Spring) หรือบ่อน้ำร้อน (Hot Pool) คือ แหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าร่างกายมนุษย์ไหลขึ้นมาจากใต้ดิน น้ำที่ขึ้นมามีตั้งแต่อุ่นๆ จนถึงเดือดพล่าน เนื่องจากทางเดินน้ำใต้ดินใหญ่ทำให้น้ำสามารถไหลเวียนอย่างรวดเร็วได้ น้ำร้อนที่ไหลขึ้นมาจะไหลออกไปจากแหล่งหรือกลายเป็นไอ เพื่อปล่อยพลังงานความร้อน เมื่อน้ำร้อนนั้นเย็นลงจะไหลกลับสู่ระบบน้ำใต้ดิน น้ำร้อนแต่ละแห่งจะมีแร่ธาตุรวมทั้งก๊าซละลายอยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ทำให้มีสีและกลิ่นแตกต่างกัน และมีปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจากแต่ละบ่อแตกต่างกัน เช่น บ่อน้ำพุร้อนที่ทะเลสาบโบโกเรีย น้ำพุร้อนนับร้อยแห่งที่ประเทศ ไอซ์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และน้ำพุร้อนในประเทศไทย เป็นต้น ถ้ามีเพียงน้ำร้อนไหลซึมขึ้นมาบนผิวดินจะเรียกว่าน้ำซึม (Seepage)

      1.3 บ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (Fumarole) คือ หลุมหรือปล่องที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมา จะไม่มีน้ำเหมือน น้ำพุร้อน สาเหตุอาจเกิดจากบริเวณนั้นมีน้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อได้รับความร้อนจึงกลายเป็นไอออกมา หรืออาจเกิดจากการที่ชั้นใต้ดินมีความร้อนสูงมากจนน้ำกลายเป็นไอจนหมด บ่อไอเดือดพบมากในประเทศที่มีภูเขาไฟ แต่ก็สามารถพบได้ในพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาไฟได้เช่นกัน

      1.4 บ่อโคลนเดือดหรือพุโคลน (Mud Pot) คือ โคลน (แอ่งตะกอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ) ซึ่งมีไอน้ำร้อนจัดอยู่เบื้องล่าง เมื่อไอน้ำนั้นเคลื่อนที่จะทำให้โคลนที่อยู่ด้านบนพุ่งกระจายขึ้นมาคล้ายการระเบิดย่อยๆ ในบริเวณภูเขาไฟ ปกติบ่อโคลนเดือดมักมีกำมะถันอยู่มากและมีหลาย
2. แบ่งตามปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ ในต่างประเทศสามารถแบ่งน้ำพุร้อนตามปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำได้หลายสิบประเภท แต่ในประเทศไทย พบน้ำพุร้อนที่แบ่งตามส่วนประกอบเคมี เพียง 4 ประเภท (วรรณภา จ่าราช, 2546) ดังนี้

      2.1 น้ำพุร้อนทั่วไป (Simple Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน เกลือและแร่ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร เป็นน้ำพุร้อนส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย

      2.2 น้ำพุร้อนคาร์บอเนต (Carbonate Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำหรือเป็น น้ำพุเย็น ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและแร่ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร ลักษณะคล้ายน้ำพุร้อนทั่วไป แต่มีปริมาณคาร์บอเนตสูงกว่า

      2.3 น้ำพุร้อนเกลือหรือน้ำพุร้อนน้ำเค็ม (Salt Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่าน้ำพุร้อนทั่วไป มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากกว่า 1 กรัม/ลิตร กรณีที่น้ำประกอบด้วยเกลือระหว่าง 1-5 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลืออ่อน (Weak Saline) ประกอบด้วยเกลือระหว่าง 5-10 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลือ และประกอบด้วยเกลือมากกว่า 10 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลือเข้มข้น (Strong Saline) มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาความร้อนได้ดี

      2.4 น้ำพุร้อนแอลคาไล (Alkaline Springs) เป็นการแบ่งประเภทน้ำพุร้อน โดยใช้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำพุร้อนเป็นหลัก น้ำพุร้อนที่มีค่า pH 7.5-8.5 เรียกว่า Weak Alkaline Springs และน้ำพุร้อนที่มีค่า pH สูงกว่า 8.5 เรียกว่า Alkaline Springs
2. แบ่งตามปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ ในต่างประเทศสามารถแบ่งน้ำพุร้อนตามปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำได้หลายสิบประเภท แต่ในประเทศไทย พบน้ำพุร้อนที่แบ่งตามส่วนประกอบเคมี เพียง 4 ประเภท (วรรณภา จ่าราช, 2546) ดังนี้

      2.1 น้ำพุร้อนทั่วไป (Simple Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน เกลือและแร่ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร เป็นน้ำพุร้อนส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย

      2.2 น้ำพุร้อนคาร์บอเนต (Carbonate Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำหรือเป็น น้ำพุเย็น ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและแร่ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร ลักษณะคล้ายน้ำพุร้อนทั่วไป แต่มีปริมาณคาร์บอเนตสูงกว่า

      2.3 น้ำพุร้อนเกลือหรือน้ำพุร้อนน้ำเค็ม (Salt Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่าน้ำพุร้อนทั่วไป มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากกว่า 1 กรัม/ลิตร กรณีที่น้ำประกอบด้วยเกลือระหว่าง 1-5 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลืออ่อน (Weak Saline) ประกอบด้วยเกลือระหว่าง 5-10 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลือ และประกอบด้วยเกลือมากกว่า 10 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลือเข้มข้น (Strong Saline) มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาความร้อนได้ดี

      2.4 น้ำพุร้อนแอลคาไล (Alkaline Springs) เป็นการแบ่งประเภทน้ำพุร้อน โดยใช้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำพุร้อนเป็นหลัก น้ำพุร้อนที่มีค่า pH 7.5-8.5 เรียกว่า Weak Alkaline Springs และน้ำพุร้อนที่มีค่า pH สูงกว่า 8.5 เรียกว่า Alkaline Springs

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกแอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ 480,000 ไร่ หรือ 768 ตารางกิโลเมตร
   ป่าไม้เขตลำปางได้มีหนังสือ ที่ กษ 0709(ลป)/4181 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2524 เรื่อง ขอกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 1648/2524 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2524 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปทำการสำรวจ สรุปได้ว่าสภาพป่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง มีน้ำตกและน้ำพุร้อนไหลตลอดปี เหมาะสำหรับจัดเป็นวนอุทยาน ในปีงบประมาณ 2526 กรมป่าไม้ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น (วนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน) บริเวณน้ำตกแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 75 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง
   ต่อมากรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/13868 และ 13870 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงจังหวัดลำปางและป่าไม้เขตลำปาง ขอความเห็นที่จะยกฐานะวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน (วนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจังหวัดลำปางได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ลป 0009/18356 ลงวันที่ 12 กันยายน 2526 และป่าไม้เขตลำปางได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุน ในการที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
   กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมต่อมาเป็นระยะๆ และกองอุทยานแห่งชาติ สำนักงานป่าไม้เขตลำปางและส่วนราชการองค์กรภาคเอกชนของจังหวัดลำปาง ได้เริ่มโครงการจัดตกแต่งวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2529 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2530 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เกิดความประทับใจในธรรมชาติที่สวยงาม จึงเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อวางแผนพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีเสนอ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2530 และได้มีหนังสือแจ้งให้กรมป่าไม้ดำเนินการตามสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0202/2889 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2530
   กองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 388/2530 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2530 ให้ นายสุทัศน์ วรรณะเลิศ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณากำหนดขอบเขตพื้นที่ เพื่อยกระดับฐานะวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นอุทยานแห่งชาติ อีกทั้งนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมป่าไม้ และนายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและร่วมพิจารณาความเหมาะสมในการวางแนวทางพัฒนาวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2530 และกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2530 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 เห็นชอบในการยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่สุก ป่าแม่สอย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งซ้าย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลแจ้ซ้อน ตำบลเมืองปาน ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว้าง อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านคำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 370,000 ไร่ หรือ 592 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 58 ของประเทศ
   ต่อมาได้มีประกาศขยายเขตอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่าแม่สุก ป่าแม่สอย ป่าแม่ตุ้ยฝั่งซ้าย และป่าแม่ตุ้ยฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม และตำบลหัวเมือง ตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2543 เนื้อที่ประมาณ 110,000 ไร่ หรือ 176 ตารางกิโลเมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 121 ก ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2543


ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของสันเขาผีปันน้ำตะวันตก ทอดตัวตามแนวทิศเหนือสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรื่อยไปทางทิศใต้จนถึงอำเภอแม่พริก ซึ่งเป็นเขตแบ่งระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 300-2,031 เมตร มียอดเขาสูงที่สุดคือ ดอยลังกา
   นอกจากนี้ยังประกอบด้วย ดอยสันผักกิ้ง ดอยชายแดน ดอยแม่กา ดอยตะไคร้ ดอยต๋ง ดอยวังหลวง ดอยห้วยหลอด ผาหลักไก่ ม่อนทางเก้า ดอยแม่บึก ม่อนจวง ดอยแม่มอน และดอยแปเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1-A ของลุ่มน้ำวัง ประกอบด้วยลำน้ำขนาดต่างๆ จำนวนมากที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่หมี น้ำแม่ต๋อม น้ำแม่สอย น้ำแม่มอน น้ำแม่ปาน น้ำแม่ฮะ น้ำแม่ปอม น้ำแม่บึง น้ำแม่สุ่ย และน้ำแม่ค่อม เป็นต้น และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญเป็นสาขาของแม่น้ำวัง เช่น แม่น้ำสอย ห้วยแม่กา ห้วยแม่ปาน นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นแหล่งน้ำพุร้อน บริเวณกว้างถึง 2,400 ตารางเมตร มีน้ำพุร้อนผุดจากบ่อเล็กถึง 9 บ่อ เต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ มีอัตราการไหลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งมีอัตราการไหลประมาณ 15 ลิตร/วินาที อุณหภูมิระหว่าง 39-47 องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิอากาศ
   ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ประกอบด้วย ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกันยายน ปริมาณน้ำฝนในรอบปีมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,070 มิลลิเมตร มีการกระจายไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีฝนตกชุกในช่วงต้นเดือนกันยายน และจะมีระยะฝนทิ้งช่วงระหว่างต้นเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างจะร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 26 องศาเซลเซียส แต่โดยปกติอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
   สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสามารถจำแนกออกได้เป็น
   ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่โดยทั่วไปตามสันเขาและตามหุบเขาในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่โดยทั่วไปทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้เด่นที่พบส่วนใหญ่ประกอบด้วย สัก แดง ประดู่ แสมสาร กระบก กว้าว เก็ดแดง ติ้ว ซ้อ ปอกระสา ฯลฯ จะพบไผ่กระจายอยู่ทั่วไป เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ไผ่หอบ พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยที่พบมีกล้วยนวล กระชาย เล็บเหยี่ยว กะลังตังช้าง เครือออน เป็นต้น
   ป่าเต็งรัง พบอยู่ตามเชิงเขาไหล่เขาทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะกอกป่า แดง ประดู่ อ้อยช้าง กระโดน มะเกิ้ม โมกมัน มะค่าแต้ ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบได้แก่ หญ้าเพ็ก โจด และปรงป่า
   ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป มีอยู่เป็นหย่อมๆ บริเวณตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมู ไก๋ ทะโล้ เหมือด จำปาป่า ยางเหลือง ตะไคร้ต้น ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่ศก โชนผี และพืชในวงศ์ขิงข่า
   ป่าสนเขา ขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณแนวสันเขา ไหล่เขา ที่มีความสูงมากกว่า 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ จำปีป่า หว้า มะขามป้อมดง กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้า หนาด สาบหมา และพืชในวงศ์ข่า
   ป่าดิบชื้น พบอยู่ในบริเวณหุบเขา ตามริมห้วยลำธารต่างๆ บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง พันธุ์ไม้เด่นที่สำคัญ ได้แก่ ยาง มะหาด มะไฟ อบเชย ชมพู่ป่า สะท้อนรอก ลำไยป่าเครือ คอแลน สะตอ ยมป่า พระเจ้าห้าพระองค์ พืชพื้นล่างที่พบเป็นพวก ไผ่เฮียะ เฟิน หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า
   เนื่องจากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และผสมปะปนกันอยู่หลายชนิด ตลอดจนระดับความสูงที่แตกต่างกันตั้งแต่ 300 - 2,000 เมตร จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด สัตว์ป่าที่พบเห็นในเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วย เก้ง กวางป่า เลียงผา หมูป่า เสือดาว หมีควาย ชะนีมือขาว ลิงลม เม่น หมูหริ่ง ชะมด พังพอน ลิ่นพันธุ์ชวา กระต่ายป่า กระรอกหลากสี กระแต อ้นใหญ่ หนูฟานเหลือง ค้างคาวไผ่หัวแบนเล็ก ไก่ป่า นกเขาเปล้า นกบั้งรอกใหญ่ นกแอ่นพันธุ์หิมาลัย นกกะเต็นน้อยธรรมดา นกโพระดกคอสีฟ้า นกนางแอ่นบ้าน นกพญาไฟใหญ่ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกเขียวคราม นกกินแมลงอกเหลือง นกกางเขนดง นกจับแมลงจุกดำ นกสีชมพูสวน ตะพาบน้ำ จิ้งจกดินลายจุด กิ้งก่าสวน แย้ขีด จิ้งเหลนบ้าน งูสามเหลี่ยม งูลายสอใหญ่ งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว อึ่งกรายตาขาว คางคกบ้าน เขียดจะนา กบหนอง ปาดบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี จะมีจักจั่นป่ามารวมตัวกันบริเวณน้ำพุร้อน ซึ่งเชื่อกันว่าจักจั่นป่าเหล่านี้มาดื่มน้ำแร่

สถานที่ท่องเที่ยว
   น้ำตกแจ้ซ้อน เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำแม่มอน มีน้ำไหลตลอดปี มีแอ่งน้ำรองรับตลอดสาย ไหลตกลงมาเป็นชั้นๆ มีความสูงทั้งหมด 6 ชั้นในแต่ละชั้นจะมีความสวยต่างกันออกไป อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 1 กิโลเมตร มีทางเดินไปถึงได้สะดวก และสามารถเดินจากบ่อน้ำพุร้อนไปถึงน้ำตกได้เช่นกัน
   น้ำตกแม่มอญ เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลอย่างรุนแรงจากชะง่อนผาสูงลงสู่หุบเหวเบื้องล่าง การตกของน้ำจะตกลงมาเป็นชั้นๆ สวยงามแปลกตา สภาพทั่วไปค่อนข้างอันตรายไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 5 กิโลเมตร ทางเข้าน้ำตกเป็นเส้นทางขนส่งแร่เดิม
  
น้ำตกแม่ขุน อยู่ใกล้กับน้ำตกแม่มอญ มีลักษณะเป็นน้ำตกสายยาวสูงประมาณ 100 เมตรไหลลงมาบรรจบกับน้ำตกแม่มอญ ต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานประมาณ 5 กิโลเมตร ควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำทางด้วย

  น้ำตกแม่เปียก เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งต่อจากน้ำตกแจ้ซ้อนเข้าถึงโดย เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยชั้นน้ำตก 3 ชั้น ความสูงประมาณ 100 เมตร
   น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ มีกลิ่นกำมะถันค่อนข้างอ่อน จำนวน 9 บ่อ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ภายในพื้นที่มีโขดหินน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และมีไอน้ำลอยกรุ่นขึ้นจากบ่อปกคลุมรอบบริเวณราวกับสายหมอก น้ำพุร้อนมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของน้ำพุร้อนประมาณ 73 องศาเซลเซียส เป็นที่นิยมนำไข่ไก่และไข่นกกระทามาแช่ สำหรับไข่ไก่แช่นานประมาณ 17 นาที ไข่แดงจะแข็งมีรสชาติมันอร่อยส่วนไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า
  
แอ่งน้ำอุ่น ตั้งอยู่ติดกับบ่อน้ำพุร้อน เป็นแอ่งน้ำที่เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของน้ำพุร้อนและน้ำเย็นที่มาจากน้ำตกแจ้ซ้อน ทำให้เกิดเป็นน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิเหมาะแก่การแช่อาบ

  ห้องอาบน้ำแร่ มีทั้งห้องอาบแบบแช่ ซึ่งมีอ่างสำหรับลงแช่อาบ จำนวน 11 ห้อง และห้องอาบน้ำแบบตักอาบ โดยแยกระหว่างห้องอาบชายหญิง จำนวน 16 ห้อง อุณหภูมิของน้ำแร่ประมาณ 39-42 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การอาบเป็นอย่างยิ่ง การอาบน้ำแร่เป็นการบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น และยังช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ เช่น กลาก เกลื้อน ผื่นคัน เป็นต้น โดยน้ำแร่ที่ใช้อาบต่อท่อโดยตรงมาจากบ่อน้ำพุร้อน

  ถ้ำผางาม อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จซ.3 (ผางาม) ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร มีถ้ำที่สามารถเข้าไปศึกษาและท่องเที่ยวได้จำนวนหลายถ้ำ เช่น ถ้ำผางาม (ถ้ำหนานขัด) ถ้ำน้ำ ถ้ำหม้อ ถ้ำหลวง ถ้ำลูกเกาะ เป็นต้น หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จซ.3 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 60 กิโลเมตร
   ดอกกระเสี้ยวบาน ทุกๆ ปี ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนจะงดงามด้วยดอกเสี้ยวที่บานประดับผืนป่า สามารถขับรถชมดอกเสี้ยวบานได้ตลอดเส้นทางแจ้ซ้อน-ป่าเหมี้ยง เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
   อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเลียบลำห้วยแม่มอญ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวได้ศึกษา หาความรู้ รวมทั้งได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ดังนี้
   เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อน - น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยจะเริ่มต้นเดินทางตั้งแต่ลานบ่อน้ำพุร้อนจนถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แล้ววกกลับมาทางใหม่อีกจนถึงลานน้ำพุร้อน ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา
   เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียก มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง จะเริ่มเดินจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไปจนถึงน้ำตกแม่เปียก และเดินวกกลับมาอีกฟากหนึ่งของลำห้วย จนมาถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำและเดินกลับมาทางเดียวกับเส้นที่หนึ่ง ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา


อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน


อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น