วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายทางอากาศ

      รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photograph) คือ รูปถ่ายของทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(ภูมิประเทศ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้) หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ( เช่น อาคาร ถนน รถยนต์ เขื่อน) โดยเป็นการถ่ายรูปจากอากาศยาน เช่น บอลลูน เครื่อนบิน ยานอวกาศ ในขบวนการผลิตรูปถ่ายทางอากาศเรามีหลักการง่ายๆ เหมือนการถ่ายรูปทั่วไป เพียงแต่ถ่ายในบริเวณที่ความสูงมากๆ ซึ่งมีอุปกรณ์ และเทคนิคการถ่ายการล้างการอัดยุ่งยากกว่าเท่านั้น แต่พอสรุปตามขั้นตอนแบบสั้นๆได้ ดังนี้ โดยทั่วไปจะนิยมการถ่ายรูปโดยเครื่องบิน ซึ่งต้องมีการติดตั้งกล้องถ่ายรูปทางอากาศไว้บริเวณใต้ท้องเครื่องบิน แล้วบินถ่ายในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 5000 ฟุต ในแนวดิ่งใช้ความสูง 15000 ฟุต และแนวเฉียงใช้ความสูงระหว่าง 5000-8000 ฟุต บินถ่ายไปเหนือภูมิประเทศบริเวณที่จะทำการถ่ายรูป โดยใช้กล้องถ่ายรูปทางอากาศ และฟิล์ม เมื่อทำการถ่ายรูปเสร็จแล้วนำฟิลม์ไปทำการล้างและอัดรูปถ่าย ในที่สุดเราจะได้รูปถ่ายที่มีรายละเอียดของภูมิประเทศในบริเวณที่ทำการถ่ายรูปนั้นปรากฏอยู่ รูปที่ได้เมื่อเรามองดูจะเหมือนกับการมองจากที่สูงลงมาที่ต่ำ เรียกรูปถ่ายที่ได้นี้ว่า “รูปถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายทางอากาศ” รูปที่ถ่ายได้อาจจะไม่คุ้นเคยกับสายตาคนทั่วไป คือ ถ้าหากเป็นรูปถ่ายดิ่งลงมาจากที่สูง ถ้าเป็นรูปของอาคารบ้านเรือน เราจะมองเห็นเพียงหลังคาบ้าน ถ้าเป็นรูปป่าไม้ เราจะมองเห็นเพียงเรือนยอดของต้นไม้ เท่านั้น ไม่เห็นลำต้น เพราะถูกเรือนยอดบังไว้
ชนิดของรูปถ่ายทางอากาศ (Type of Aerial Photograph)
           รูปถ่ายทางอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือรูปถ่ายดิ่ง และรูปถ่ายเฉียง 


           1. รูปถ่ายดิ่ง (Vertical Photographs) คือ รูปที่ถ่ายจากกล้องซึ่งตั้งแกนกล้องให้อยู่ในแนวที่ดิ่งที่สุดเท่าที่จะ
เป็นได้ ถ้าหากแกนของกล้องขณะที่ถ่ายรูปอยู่ในแนวดิ่งจริงๆ ระนาบรูปจะขนานกับระนาบของพื้นที่ที่ถ่ายรูป เนื่องจากขณะบินถ่ายรูปเครื่องบินมักจะทรงตัวไม่อยู่ในแนวระดับจริง ภาพถ่ายจึงเอียงตามไปด้วย โดยปรกติความเอียงของแกนกล้องต้องอยู่ที่ 1-3 องศา เท่านั้น และโดยทั่วไปก็ยังนับว่าเป็นรูปถ่ายดิ่ง เพราะมีเครื่องมือและเทคนิคใช้ปรับแก้ความผิดพลาดของรูปที่เอียงให้มีความถูกต้องได้

           2. รูปถ่ายเฉียง (Obligue Aerial Photograph) คือ รูปถ่ายที่เกิดจากแกนของกล้องเอียงไปมาก โดยรูปถ่ายเฉียงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือรูปถ่ายเฉียงสูง ( High Obligue Photograph) คือ รูปถ่ายที่ถ่ายให้แกนของกล้องเอียงออกจากแนวดิ่งมากจนเห็นเส้นขอบฟ้าในรูปถ่าย และรูปถ่ายเฉียงอีกชนิด คือ รูปถ่ายเฉียงต่ำ (Low Obligue Photograph) คือ รูปถ่ายที่ถ่ายให้แกนของกล้องเอียงออกจากแนวดิ่ง แต่ไม่ปรากฏเส้นของฟ้าในรูป

http://gis.pwa.co.th/images/image004.gif
http://gis.pwa.co.th/images/image006.gif

ขั้นตอนการถ่ายรูปทางอากาศ
           ในการถ่ายรูปทางอากาศในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จำเป็นต้องมีการกำหนดพื้นที่ให้ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการและกำหนดแนวถ่ายรูปให้เป็นแนวขนานกัน โดยแนวขนานนี้จะกำหนดให้เป็นทิศทาง ออก-ตก หรือแนวขนานทิศทาง เหนือ-ใต้ ก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะบริเวณที่ต้องการ โดยแนวเส้นขนานนี้ถูกเรียกว่าแนวบิน (flight lines) หรือ แถบบิน (flight strips) เมื่อกำหนดแนวบินได้แล้ว จึงทำการถ่ายภาพโดยใช้เทคนิคถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง โดยถ่ายภาพให้ครบตามแนวบินจนครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ และจะได้รูปที่เรียงลำดับต่อกัน ซึ่งรูปที่ถ่ายข้างเคียงกันจะมีส่วนเหลื่อมซ้อนกัน (end lap หรือ over lap) ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งรูปถ่ายบริเวณที่ซ้อนกันนี้มีประโยชน์ในการใช้ดูภาพสามมิติ เราสามารถดูภาพสามมิติได้ด้วยการใช้กล้องดูภาพสามมิติ (Stereoscope) ภาพสามมิตินี้ก็จะเหมือนกับหุ่นจำลองภูมิประเทศ เนื่องจากพื้นที่แต่ละโครงการมักมีบริเวณกว้างใหญ่ ทำให้มีแนวบินได้หลายแนวบิน และการบินถ่ายแบบต่อเนื่องจะต้องให้มีส่วนเกย (side lap) ของแต่ละแนวบินด้วย โดยส่วนเกยนี้ จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 ส่วนนี้มีไว้เพื่อใช้ในการดูภาพสามมิติ เช่นกัน และมีไว้เพื่อต่อรูปภาพให้ต่อเนื่องเป็นรูปเดียวกัน การต่อรูปภาพเรียกว่า Mosaic

http://gis.pwa.co.th/images/image008.gif
รูปแนวบินส่วนซ้อนด้านหน้าและส่วนซ้อนด้านข้าง
http://gis.pwa.co.th/images/image010.gif
รูปการถ่ายภาพ
http://gis.pwa.co.th/images/overlap.gif
http://gis.pwa.co.th/images/image017.gif
กล้องและฟิลม์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ


กล้องถ่ายรูปทางอากาศ (Aerial Cameras) 

......... การถ่ายรูปทางอากาศอาจใช้กล้องถ่ายรูปที่ใช้มือถือ ชนิด บรรจุฟิล์ม 35 มม. ถ่ายจากเครื่องบินธรรมดาก็ได้ แต่รูปที่ได้จะเหมาะสำหรับวิเคราะห์พื้นที่ขนาดเล็กๆ เท่านั้น รูปถ่ายทางอากาศส่วนใหญ่จะถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ถ่ายรูปทางอากาศโดยเฉพาะ เพราะสามารถถ่ายรูปได้จำนวนมากและต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำทางเรขาคณิตสูง กล้องถ่ายรูปทางอากาศปัจจุบันมีมากมายหลายชนิดแต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
  1. กล้องถ่ายรูปแบบกรอบชนิดเลนส์เดี่ยว (Single lens frame cameras) กล้องชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เหมาะสำหรับการใช้ทำแผนที่ต่างๆ เนื่องจากให้รูปที่มีคุณสมบัติทางเรขาคณิตสูงที่สุด เลนส์ของกล้องยึดติดอยู่กับที่ในระยะห่างคงที่จากระนาบฟิล์ม ขนาดกว้างยาวของฟิล์มเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 9” * 9” (23 ซ.ม. * 23 ซ.ม.) แม็กกาซีนของฟิลม์สามารถบรรจุฟิล์มได้ยาว 120 เมตร การถ่ายรูปจะดำเนินไปโดยอัตโนมัติตามช่วงระยะเวลาที่ตั้งไว้
  2. กล้องถ่ายรูปแบบกรอบชนิดหลายเลนส์ (Multilens frame cameras) กล้องแบบนี้มีลักษณะพื้นฐานเหมือนกล้องถ่ายรูปแบบกรอบชนิดเลนส์เดียว แต่มีสองเลนส์ หรือมากกว่า และถ่ายรูปได้ สองรูปหรือมากกว่าได้พร้อมๆกัน ซึ่งกล้องชนิดนี้ ยังมีอีกหลายแบบซึ่งแต่ละแบบจะคล้ายกันตรงที่เมื่อถ่ายรูป 1 ครั้งจะได้รูปดิ่ง 1 รูป และรูปแนวเฉียงประกอบด้วยพร้อมกัน ส่วนการจะได้รูปแบบใดขึ้นอยู่กับว่าใช้กล้องชนิดใด และจะได้จำนวนกี่รูปขึ้นอยู่กับว่ามีกล้องติดอยู่กี่ตัวด้วย เช่นกล้อง 9 เลนส์ จะได้รูปแนวดิ่ง 1 รูป และได้รูปแนวเฉียงต่ำอีก 8 รูป , กล้องไตรมี-โตรกอน เมื่อถ่าย 1 ครั้ง จะได้ รูปแนวดิ่ง 1 รูป และรูปแนวเฉียงสูงอีก 2 รูป
  3. กล้องถ่ายรูปแบบแถบ (Strip cameras) เป็นกล้องถ่ายรูปภูมิประเทศใต้แนวบินเป็นแถบติดต่อกันไป ชัตเตอร์ของกล้องเปิดไว้ตลอดเวลาที่ทำการถ่ายรูป ฟิล์มที่ถ่ายรูปจะเคลื่อนผ่านช่องแคบๆ ที่เปิดรับภาพตรงระนาบโฟกัสไปด้วยอัตราเร็วเท่าๆกับความเร็วของภาพบนพื้นดินที่ผ่านระนาบโฟกัส
  4. กล้องถ่ายรูปแบบจอกว้าง (Panoramic cameras) เป็นกล้องชนิดที่ถ่ายรูปภูมิประเทศเป็นแถบจากขอบฟ้าหนึ่งถึงอีกขอบฟ้าหนึ่งในแนวที่ขวางกับแนวบิน มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้เลนส์หมุนได้กวาดภาพ และแบบที่ใช้ปริซึมหมุนได้ติดที่หน้าเลนส์ 


    ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพ
           ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพทางอากาศมีทั้งฟิล์มขาวดำและฟิล์มสี เช่นเดียวกับถ่ายภาพทั่วไป เนื่องจากการผลิตฟิล์มสามารถทำให้ไวแสงได้ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible Light) และช่วงคลื่นอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งตามองไม่เห็น จึงทำให้แบ่งภาพถ่ายทางอากาศได้ 4 ชนิด
    1. ภาพแพนโครเมติก (Panchromatic Aerial Photography) หรือภาพขาวดํา
................... เป็นภาพจากฟิล์มแพนโครเมติกที่ไวแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ฟิล์มนี้ใช้ร่วมกับแว่นกรองแสง (Filter) เพื่อลดผลกระทบจากหมอกแดด (Haze) ภาพชนิดนี้ใช้ทั่วไปในงานทําแผนที่ภูมิประเทศเพราะแสดงโครงสร้างของวัตถุได็ชัดเจน ภาพของพื้นผิวโลกปรากฏเป็นสีขาวดําที่มีความเข้มจางต่างกันวัตถุที่มีสีอ่อน เช่น ถนนคอนกรีตจะปรากฏเป็นสีเทาขาว ส่วนวัตถุที่มีสีเข้ม เช่น ป่าไม้จะเป็นสีเทาเข้ม เป็นต้นแต่ภาพขาวดํามีความไวแสงต่ำในช่วงแสงสีเขียวจึงทําใหพืชพรรณชนิดต่างๆมีความเข้มไม่แตกต่างกันนัก

http://gis.pwa.co.th/images/image022.jpg
    1. ภาพสีปกติ (Normal Color Aerial Photography)
http://gis.pwa.co.th/images/image024.jpg

....... เป็นภาพจากฟิล์มสีปกติที่ ไวแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ฟิล์มนี้ใช้ร่วมกับแว่นกรองแสงที่เหมาะสมกับสภาพ
อากาศและความสูงบิน ภาพสีปกติมีสีใกล้เคียงกับสีธรรมชาติของภูมิประเทศ จึงทําให้แปลความหมายง่ายกว่าภาพขาวดํา เพราะสายตามนุษย์มีประสิทธิภาพในการจําแนกวัตถุสีดีกว่าวัตถุโทนขาวดํา ภาพสีปกติสามารถใช้จําแนกชนิดดิน หิน แหล่งน้ำและพืชพรรณได้ดี แต่การถ่ายภาพจะต้องระมัดระวังให้ภาพมีสีคงที่และมีรายละเอียดคมชัด
    1. ภาพขาวดําอินฟราเรด (Black and White Infrared Aerial Photography)
http://gis.pwa.co.th/images/image026.jpg

......เป็นภาพสีขาวดําจากฟิล์มอินฟราเรดที่ไวแสงช่วงคลื่นอินฟราเรด แสงอินฟราเรดสามารถทะลุหมอกแดดหมอก ควันและฝุ่นละอองได้ ภาพอินฟราเรดจึงชัดเจนกว่าภาพขาวดําและภาพสีปกติ ฟิล์มอินฟราเรดใช้ร่วมกับแว่นกรองแสงที่ตัดแสงช่วงคลื่นที่ตามองเห็น สามารถบันทึกภาพของวัตถุที่สะท้อนแสงอินฟราเรดได้ แต่ตามนุษย์มองไม่เห็นการสะท้อนแสงอินฟราเรดของวัตถุ ภาพอินฟราเรดจึงมีประโยชน์ในการสํารวจคุณสมบัติการสะท็อนแสงอินฟราเรดของวัตถุ ตัวอย่างเช่น สนามหญ้าจริงที่ตามองเห็นเป็นสีเขียว แต่สนามหญ้าสะท้อนแสงสีเขียวเพียงประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณแสงสีเขียวที่ได้รับ และสะท้อนแสงอินฟราเรดถึงประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณแสงอินฟราเรดที่ได้รับ ในขณะที่สนามหญ้าเทียมที่ตามองเห็นเป็นสีเขียว เพราะสนามหญ้าเทียมสะท้อนแสงสีเขียวประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณแสงสีเขียวที่ได้รับเช่นกัน แต่สะท่อนแสงอินฟราเรดน้อยมาก ฟิล์มที่ไวแสงอินฟราเรดรับแสงสะท้อนของสนามหญ้าจริงตามปริมาณของค้าสะท้อนแสง สนามหญ้าจริงจึงปรากฏบนภาพขาวดําอินฟราเรดเป็นสีขาว ส่วนสนามหญ้าเทียมจะเป็นสีเทาเข้ม-ดํา ขึ้นกับปริมาณความชื้นของสนามหญ้าเทียม
  1. ภาพสีอินฟราเรด (Infrared Aerial Photography)
http://gis.pwa.co.th/images/image027.png

..... เป็นภาพจากฟิล์มอินฟราเรดที่ไวแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นและช่วงคลื่นอินฟราเรด ฟิล์มชนิดนี้ใช้ร่วมกับแว่น กรองแสงที่ตัดแสงสีน้ำเงิน สีที่ปรากฏในภาพสีอินฟราเรดไม่ใช้สีธรรมชาติ เพราะวัตถุที่สะท้อนแสงสีเขียว แสงสีแดงและแสงอินฟราเรด จะปรากฏในภาพถ่ายอินฟราเรด เป็นสีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง ตามลําดับ พืชพรรณซึ่งสะท้อนแสงอินฟราเรดมาก ปรากฏบนภาพเป็นโทนสีแดงเข้มจางแตกต่างกัน จึงมักเรียกว่า สีเท็จ (False Color) ตัวอย่างเช่น ในภาพสีอินฟราเรดสนามหญ้าจริงจะเป็นสีแดงแสดแต่สนามหญ้าเทียมจะเป็นสีน้ำเงินหรือดําขึ้นกับปริมาณความชื้นของสนามหญ้าเทียม ภาพสีอินฟาเรดมีประโยชน์ในการใช้จำแนกพืชพรรณ และศึกษาความสมบูรณ์ของพืชพรรณ และปริมาณความชื้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น