วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติถือครองที่ดินได้หรือไม่


                แต่เดิมคนไทยที่จดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าวจะถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้เพราะกฎหมายที่ดินไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวถือ กรรมสิทธิ์ที่ดินและหากอนุญาตให้คู่สมรสที่เป็นคนไทยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้วที่ดินจะเป็นสินสมรสกับคู่สมรสต่างด้าวตาม ประมวล กฎ หมายแพ่ง ด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะ เหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ
   
ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้" และ มาตรา 48 วรรคแรก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยได้ บัญญัติว่า " สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง " ขอบเขตแห่งสิทธิ และ การจำกัดสิทธิเช่นว่านั้นย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ดังกล่าว
ทางกระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติดังนี้ คือ
1. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว โดยชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสินสมรส เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่ง รัฐมนตรีตามนัย(มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
2. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่น ที่คล้ายคลึงกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภรรยา กับคนต่างด้าวหากสอบสวนแล้วผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นทรัพย์ส่วนตัวของ บุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็น คู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้า ที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปกรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัย (มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
3. กรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้ว เป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้แต่ถ้าหากเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินสมรส หรือมีผลทำให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยเมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อเสนอขอคำสั่งรัฐมนตรีตามนัย (มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
4. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวแต่ได้หย่าขาดจากกัน หรือเลิกร้างกันแล้ว ขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์ หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้
ฉะนั้น ก็เป็นโอกาสดีแล้วที่คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวสามารถที่จะถือครองที่ดินได้ อนี่งการยินยอมโดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวนั้นกรมที่ดินได้วางระเบียบว่า ต้องไปให้ความยินยอมด้วยตนเองจะทำเป็นหนังสืออย่างเดียวโดยไม่ไปแสดงตนไม่ได้
ผู้เขียนเห็นว่า หากคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวมีเหตุขัดข้องไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยเพื่อแสดงความยินยอมดังกล่าวคนต่างด้าวนั้นสามารถไปทำหนังสือ (Affidavit) ให้ถ้อยคำยืนยันต่อโนตารี่พับลิกและกงสุลไทยในประเทศของตนและนำหนังสือ(Affidavit) ไปใช้แสดงต่อกรมที่ดินได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น