วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

เขาคิชฌกูฎ


หินเทิน (หินทรงตัว) เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นหินก้อนกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 เมตร วางตั้งอยู่บนพื้นหินแกรนิตของยอดเขาคิชฌกูฏ (พระบาทพลวง) ซึ่งเป็นยอดหนึ่งของเทือกเขาสอยดาว ตรงพื้นหินใกล้ๆ กับบริเวณที่หินเทินตั้งอยู่ มีรอย...
กระเทาะของเปลือกหินเป็นรูปร่างต่าง ๆ ร่องรอยรูปหนึ่งมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ได้รับการเรียกชื่อว่า รอยพระพุทธบาท เกิดจากการแตกเป็นกาบของหิน (Exfoliation) เหมือนกาบกะหล่ำปลี โดยมีน้ำฝนเป็นตัวช่วยให้เกิดการกร่อนและผุพัง

หินเทินบนเขาคิชฌกูฏนี้เป็นหินแกรนิตที่ถูกกร่อนและผุพังตามธรรมชาติ ตามรอยแตก รอยแยก โดยรอยแตกแนวนอน (ระนาบพื้น) มีการผุกร่อนน้อยกว่าแนวดิ่ง ทำให้ดูเหมือนว่าหินถูกนำมาตั้งอยู่ในลักษณะที่ล่อแหลม เสมือนจะกลิ้งหลุดออกไปจากพื้นในวันใดวันหนึ่งก็ได้ ลักษณะเช่นนี้ทางธรณีวิทยาเรียกว่า หินทรงตัว (Balancing rock)

เทือกเขาสอยดาวที่เป็นมวลหินแกรนิตขนาดใหญ่ (Batholith) เกิดจากการเย็นตัวของแมกมาใต้ผิวโลกเมื่อประมาณ 190 ล้านปีก่อนหรือยุคจูแรสซิก

ข้อมูล: กรมทรัพยากรธรณี
เครดติภาพ: จังโก้ป่า3 (via weekendhobby.com)
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น