วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ชื่อที่เรียกกันทั่วไปคือ "กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8") เป็นเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สิ้นพระชนม์ด้วยต้องพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 อย่างมีเงื่อนงำ ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และการหมดบทบาททางการเมืองของนายปรีดี พนมยงค์ (รวมทั้งกลุ่มการเมืองสายนายปรีดี) อย่างสมบูรณ์หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่ม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง

 

 ลำดับเหตุการณ์

พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของรัชกาลที่ 8 ณ ทุ่งบางเขน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489

 2 มิถุนายน 2489

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เริ่มมีพระอาการประชวรเกี่ยวกับพระนาภี (มีอาการปวดท้อง)

 3 มิถุนายน 2489

 5 มิถุนายน 2489

  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าวในแปลงนาหลังตึกขาว ซึ่งปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร

 7 มิถุนายน 2489

8 มิถุนายน 2489

  • โปรดเกล้าฯ ให้นายปรีดี พนมยงค์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่ 2)
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระอาการประชวรมากขึ้น เวลาเย็นวันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชปฏิบัติพระราชกิจแทนพระองค์

 9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุ)

ประมวลจากหนังสือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489[1]
  • เวลาประมาณ 5.00 น. สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงปลุกบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อถวายพระโอสถให้เสวย จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมต่อ
  • เวลาประมาณ 6.20 น. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเข้าเวรถวายงานที่พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รินน้ำส้มคั้นที่ห้องเสวยเพื่อคอยทูลเกล้าฯ ถวาย
  • เวลาประมาณ 7.00 น. พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรกับนายชิต สิงหเสนี ขึ้นมาที่พระที่นั่งบรมพิมานเพื่อวัดขนาดพระตรา จากนั้นทั้งสองออกจากพระที่นั่งเพื่อไปติดต่อช่างทำหีบพระตราที่ร้านงามพันธ์
  • เวลาประมาณ 8.00 น. นายบุศย์เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตื่นพระบรรทมจึงนำน้ำส้มคั้นไปถวาย แต่พระองค์โบกพระหัตถ์ไม่เสวย แล้วเสด็จขึ้นพระแท่นบรรทมตามเดิม นายบุศย์จึงกลับมาประจำหน้าที่ ที่หน้าห้องพระบรรทมตามเดิม
  • เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระอนุชาธิราช ตื่นพระบรรทม จากนั้น เวลาประมาณ 8.30 น. เสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช้าที่หน้ามุขชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมานแต่เพียงพระองค์เดียว
  • เวลาเกือบ 9 นาฬิกา นายชิตได้ขึ้นมาที่ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน และนั่งอยู่หน้าห้องพระบรรทมด้วยกันกับนายบุศย์ เพื่อรอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตื่นจากบรรทมเสียก่อน เพื่อขอพระบรมราชานุญาตเข้าไปเอาพระตราไปทำหีบ เนื่องจากทางร้านงามพันธ์ต้องการดูขนาดของพระตราองค์จริง
  • เวลา 9.05 น. สมเด็จพระอนุชาธิราชเสวยเสร็จแล้ว เสด็จมาที่หน้าห้องแต่งพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถามพระอาการของพระเจ้าอยู่หัวกับนายชิตและนายบุศย์ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปที่ห้องเครื่องเล่น ซึ่งอยู่ติดกับห้องบรรทมของพระองค์ ในเวลาเดียวกันนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนีประทับอยู่ที่ห้องบรรทมของพระองค์กับนางสาวจรูญ ตะละภัฏ ข้าหลวงในพระองค์ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล กำลังเข้าไปเก็บพระที่ (ที่นอน) ในห้องบรรทมของสมเด็จพระอนุชาธิราช
เส้นทางเคลื่อนไหวของบุคคลต่างๆ ในพระที่นั่งบรมพิมานชั้นบน ภายหลังเสียงปืนดังขึ้น เมื่อเช้าวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.30 น. (ภาพจากหนังสือกรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489)
  • เวลาประมาณ 9.30 น. มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ภายในห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นายชิตสะดุ้งอยู่มองหน้านายบุศย์และคิดหาที่มาของเสียงปืนอยู่ประมาณ 2 นาที จึงเข้าไปในห้องพระบรรทม พบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหลับอยู่เป็นปกติ แต่ปรากฏว่ามีพระโลหิต (เลือด) ไหลเปื้อนพระศอ (คอ) และพระอังสะ (ไหล่) ด้านซ้าย นายชิตจึงวิ่งไปที่ห้องบรรทมของสมเด็จพระบรมราชชนนีแล้วกราบทูลว่า “ในหลวงถูกยิง” สมเด็จพระบรมราชชนนีตกพระทัย ทรงร้องขึ้นได้เพียงคำเดียวและรีบวิ่งไปที่ห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทันที นายชิต, พระพี่เลี้ยงเนื่อง, สมเด็จพระอนุชาธิราช, และนางสาวจรูญได้วิ่งตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนนีไปติด ๆ (ดูแผนผังพระที่นั่งบรมพิมานประกอบ)
  • เมื่อไปถึงที่ห้องพระบรรทมนั้น ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตเสียแล้ว ในลักษณะของคนที่นอนหลับธรรมดา มีผ้าคลุมพระองค์ตั้งแต่ข้อพระบาทมาจนถึงพระอุระ ที่พระบรมศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพบริเวณข้อพระกรซ้ายมีปืนพก US Army ขนาดกระสุน 11 มม.วางอยู่ในลักษณะชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ปากกระบอกปืนชี้ไปที่ปลายพระแท่นบรรทม สมเด็จพระบรมราชชนนีได้โถมพระองค์เข้ากอดพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จนสมเด็จพระอนุชาธิราชต้องพยุงสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประทับที่พระเก้าอี้ปลายแท่นพระบรรทม
พระแท่นบรรทม (ถ่ายจากเบื้องพระบาท) (ภาพจากหนังสือ : คดีประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ ร.8 โดย บุญร่วม เทียมจันทร์)
  • จากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีจึงมีรับสั่งให้ตาม พ.ต.นายแพทย์หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ แพทย์ประจำพระองค์มาตรวจพระอาการของในหลวง ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องได้จับพระชีพจรของในหลวงที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย พบว่าพระชีพจรเต้นอยู่เล็กน้อยแล้วหยุด พระวรกายยังอุ่นอยู่ จึงเอาผ้าคลุมพระองค์มาซับบริเวณปากแผล และปืนกระบอกที่คาดว่าเป็นเหตุทำให้ในหลวงสวรรคตไปให้นายบุศย์เก็บพระแสงปืนไว้ที่ลิ้นชักพระภูษา เหตุการณ์ช่วงเองนี้ได้ก่อปัญหาในการพิสูจน์หลักฐานในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัดตั้ง “ศาลกลางเมือง” เพื่อสอบสวนเกี่ยวกับกรณีสวรรคต
  • เวลาประมาณ 10.00 น. หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ได้มาถึงสถานที่เกิดเหตุและตรวจพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่าสวรรคตแน่นอนแล้วจึงกราบทูลให้สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงทราบ สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงรับสั่งให้ทำความสะอาดและตกแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการถวายน้ำสรงพระบรมศพในช่วงเย็น
  • ในช่วงเวลาเดียวกัน พระยาเทวาธิราช (ม.ร.ว.เทวาธิราช ป. มาลากุล) สมุหพระราชพิธีได้เดินทางไปที่ทำเนียบท่าช้าง ที่พักของนายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งข่าวการสวรรคต (ขณะนั้นนายปรีดีประชุมอยู่กับหลวงเชวงศักดิ์สงคราม (รมว.มหาดไทย) พล.ต.อ.พระรามอินทรา (อธิบดีกรมตำรวจ) และหลวงสัมฤทธิ์สุขุมวาท (ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล) ในเรื่องกรรมกรที่มักกะสันหยุดงานประท้วง)
  • ประมาณ 11.00 น. นายปรีดีมาถึงพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติเดชอุดมอัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ แถลงการณ์ของกรมตำรวจที่ออกมาในวันนั้นก็มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน
  • เวลา 21.00 น. รัฐบาลเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อไป จากนั้นนายปรีดีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบในกรณีสวรรคต

 10 มิถุนายน 2489

  • เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพพระบรมศพ ระหว่างการทำความสะอาดพระบรมศพเพื่อเตรียมการฉีดยานั้น คณะแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้พบบาดแผลที่พระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) ซึ่งเป็นบาดแผลที่ทะลุจากรูกระสุนปืนที่พระพักตร์บริเวณพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงระหว่างพระขนง (คิ้ว) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ที่จริงแล้วในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยว่ารัฐบาลมีส่วนในการปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมตำรวจจึงออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าได้ตั้งประเด็นการสวรรคตไว้ 3 ประเด็น คือ
  1. มีผู้ลอบปลงพระชนม์
  2. ทรงพระราชอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง)
  3. เป็นอุบัติเหตุ

 11 มิถุนายน 2489

  • กรมตำรวจยังคงแถลงการณ์ยืนยันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตด้วยอุบัติเหตุ แต่ประชาชนยังคงมีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลอยู่เช่นเดิม ในวันนี้ทางกรมตำรวจได้นำปืนของกลางที่พบในวันสวรรคตไปให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ
  • นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง

 การดำเนินคดี

การตั้งคณะกรรมการการสอบสวน

เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2489 ท่านปรีดีฯ นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย ตัวแทนสถาบันหลักของชาติ คือ ประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สามพระองค์ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเลขานุการ และนายสอาด นาวีเจริญ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า "คณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต"

การชันสูตรพระบรมศพ

 รัฐประหาร พ.ศ. 2490

ดูบทความหลักที่ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490

 การดำเนินคดีในชั้นศาล

ผลกระทบ

  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สืบราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
  • นายปรีดี พนมยงค์ได้รับผลกระทบจากคดีนี้มากที่สุด เพราะถูกคนกล่าวหาว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" เนื่องจากชี้แจงสาเหตุการสวรรคตแก่ประชาชนได้ไม่ชัดเจนและคลี่คลายคดีนี้ไม่สำเร็จ และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายปรีดีไม่เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยจนสิ้นชีวิต หลังจากการลี้ภัยทางการเมืองเพราะเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ได้ให้ลูกชาย (ปาล พนมยงค์) และคนรู้จักที่อยู่เมืองไทยคอยช่วยต่อสู้คดีหมิ่นประมาทจากกรณีสวรรคตอยู่ตลอด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนก่อคดีกรณีสวรรคตนี้แต่อย่างใด ซึ่งผลปรากฏว่าชนะทุกคดี
  • คดีนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างสำคัญประการหนึ่งในการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เนื่องจากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) ไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย

 ทฤษฎีและความเชื่อ

ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคต
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือ รัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง
สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต? และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่?

ประเด็น ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต

  • สถานการณ์ในขณะนั้นพุ่งเป้าไปที่ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งประเด็นนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากนายปรีดีในขณะนั้นมีศัตรูทางการเมืองอยู่จำนวนมากที่ต้องการจะกำจัดออกไป เช่น กลุ่มทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สูญเสียอำนาจหลังร่วมกับญี่ปุ่นนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้น
  • ในหนังสือ The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I(พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543)ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน ซึ่งเป็นแขกที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงระยะหนึ่ง ได้เขียนไว้ว่า สายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์

 ประเด็น จำเลยทั้งสามเป็นผู้บริสุทธิ์จริงหรือไม่

  • ข้อสังเกตก็คือ ในขณะที่การสืบสวนโดยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังคืบหน้านั้น คณะทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 และแต่งตั้งให้ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแต่งตั้ง พล.ต.ต. พระพินิจชนคดี (พี่เขยของ ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แห่งพรรคประชาธิปัตย์) อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ นำไปสู่การจับกุมจำเลยทั้งสามในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพียง 12 วันหลังรัฐประหาร และหลังจากการจับกุมนั้น พระพินิจชนคดีก็ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในระยะเวลาสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดคือ 90 วัน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมเวลาไม่เกิน 180 วัน[2] ก่อนการประหารชีวิต นายเฉลียว ปทุมรส 1 ใน 3 จำเลยของคดีดังกล่าว ได้ขอพบ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และเล่ากันว่านายเฉลียวได้บอกชื่อฆาตกรตัวจริงให้ พล.ต.อ.เผ่า ทราบ

ทฤษฎีที่เชื่อว่ารัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมพระองค์เอง

ทฤษฎีนี้มุ่งอธิบายประเด็นความขัดแย้งในราชสำนัก และเหตุผลที่ทำให้ในที่สุดรัชกาลที่ 8 ทรงตัดสินใจเช่นนั้น เอกสารสำคัญที่เสนอทฤษฎีนี้ก็คือหนังสือ The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam โดย เรนย์ ครูเกอร์ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2507 หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อ กงจักรปีศาจ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) เคยเขียนวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ลงใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงวิจารณ์ตัวนายปรีดีและผู้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากสุลักษณ์เชื่อว่าปรีดีมีส่วนเกี่ยวของกับการปลงพระชนม์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในภายหลัง สุลักษณ์ได้เขียนเล่าในปาจารยสาร ฉบับกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2550 ว่าการเขียนวิจารณ์ในครั้งนั้นเป็นเพราะเขาหลงเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อ และต่อมาเขาจึงไถ่บาปด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปรีดี และต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Powers That Be: Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy[3][4]

สรุป

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาหาหลักฐานเกี่ยวกับกรณีสวรรคตมากสักเพียงใด มีการเสนอทฤษฎีและคำอธิบายต่อกรณีดังกล่าวมากสักเพียงใด ก็ไม่มีทฤษฎีใดเลยที่ได้รับการยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
และถึงแม้สังคมจะยอมรับกันแล้วว่านายปรีดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต แต่กรณีคดีของจำเลยทั้งสามที่ถูกประหารชีวิตไปก็ไม่เคยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่เลย ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหรือการศึกษาหาความจริงใหม่ ทั้งที่ข้อกล่าวหาของจำเลยทั้งสามและปรีดีนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด (ข้อกล่าวหาคือ "ปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของจำเลยทั้งสาม")[4] และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยนายเฉลียวหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์[2]

 ความเชื่อที่เล่าต่อ ๆ กันมาในวันสวรรคต

  • ในตอนเช้าวันสวรรคต ระหว่างการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาที่หน้ากองทัพอากาศ ดอนเมือง ปรากฏว่า ผืนธงได้ถูกลมพัดร่วงหล่นลงพื้น และที่หน้ากระทรวงกลาโหม ธงก็ชักไปติดแค่ครึ่งเสา ชักต่อไม่ได้ ทั้งสองเหตุการณ์นี้เสมือนลางบอกเหตุร้าย
  • ก่อนเกิดเหตุการณ์สวรรคต บนท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันตกบังเกิดริ้วเมฆ 3 ชั้นซ้อนกันเหมือนโกศ และมีแสงสีรุ้งเป็นประกายส่องอยู่ข้างซ้ายของโกศ แนวของรุ้งนั้นใหญ่กว่าธรรมดา ดูแล้วเหมือนธงชาติพาดอยู่บนฟ้า ด้านขวาของเมฆรูปโกศมีแสงสีเหลืองเหมือนสายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์

 อ้างอิง

  1. ^ สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489. หน้า 7–20.
  2. ^ 2.0 2.1 สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต, นิตยสารสารคดี, เมษายน พ.ศ. 2543
  3. ^ ปาจารยสาร, 32: 1 (กันยายน-ตุลาคม 2550), หน้า 80-82
  4. ^ 4.0 4.1 กานต์ ยืนยง, บทความ: เมื่อเราถูกสาป ให้จดจำประวัติศาสตร์อย่างกระพร่องกระแพร่ง, ประชาไท, 1 มีนาคม 2551
  • หนังสือ"คดีลอบปลงพระชนม์ ร.8"

รสคมคารน

 เอกสารอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีสวรรคต

 บทความภาษาไทย

  • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์
  • รายละเอียดและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนพฤตติการณ์ในการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต. ดุลพาห, 28 (1 ม.ค.–ก.พ. 2534): 68-134.
  • ชาลาดิน ชามชาวัลลา (นามแฝง). ว่าด้วยแอกอันหนึ่งในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. ปาจารยสาร, 28 (3 มี.ค.–มิ.ย. 2545): 29-38.
  • พุทธพล มงคลสุวรรณ. กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489: ความทรงจำและการเมืองของความทรงจำ = The mysterious death of King Rama VIII on june 9, 1943: Memories and the politics of memories. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 23 (3 2546): 201-237.
  • ปรามินทร์ เครือทอง. หลักฐานประวัติศาสตร์ที่เหลืออยู่กรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8. ศิลปวัฒนธรรม. 24 (7 พ.ค. 2546): 114-121.
  • ส. ศิวรักษ์ (นามแฝง). คำวิจารณ์หนังสือ "พระราชาผู้อภิวัฒน์" (The Revolutionary King: The True Life Sequel of the King and I). ปาจารยสาร, 26 (2 พ.ย.2542.–ก.พ..2543).
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "ปริศนากรณีสวรรคต," ฟ้าเดียวกัน 6, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2551): 116-135. หรือฉบับออนไลน์ที่ http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/blog-post.html และ http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2.html
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "ข้อมูลใหม่กรณีสวรรคต: หลวงธำรงระบุชัด ผลการสอบสวนใครคือผู้องสงสัยที่แท้จริง," ฟ้าเดียวกัน 7, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2552): 60-73.
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "50 ปี การประหารชีวิต," ฟ้าเดียวกัน 3, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2548) 64-80.

หนังสือภาษาไทย

  • ไข่มุกด์ ชูโต, คุณ. พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลของปวงชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ม.ป.ท.): โรงพิมพ์หยีเฮง, (ม.ป.ป.).
  • คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกฉลอง 100 ปี รัฐบุรุษอาวุโส นายปรีดี พนมยงค์ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 145/2541. สารคดี ฉบับพิเศษ คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิริยะธุรกิจ, 2543.
  • คำตัดสินใหม่ กรณีสวรรคต ร.8 โดย คำพิพากษาศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ 5810/2522 (วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522). กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2523.
  • คำพิพากษาศาลอาญา คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2517.
  • คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2517.
  • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475-2500 = Political History of Thailand. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2544.
  • ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์. ในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์. กรุงเทพ: พีจี. 2517.
  • พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ. ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ : ศูนย์รวมข่าวเอกลักษณ์, (ม.ป.ป.).
  • บุญร่วม เทียมจันทร์ คดีประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ร.8 พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2550.
  • มรกต เจวจินดา. ภาพลักษณ์ ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2526 = The Images of Pridi Banomyong and Thai Politics, 1932-1983. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
  • ส. ศิวรักษ์ (นามปากกา). เรื่องนายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2543.
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลา, 2544.
  • สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : แหล่งพิมพ์เรือใบ, 2517.
  • สุด แสงวิเชียร. เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต. กรุงเทพฯ : บี พี พี เอส, 2529.
  • สุพจน์ ด่านตระกูล. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย), 2544.
  • อนันต์ อมรรตัย. แผนการปลงพระชนม์ ร.8 ของนายปรีดี พนมยงค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จิรวรรณนุสรณ์, 2526

หนังสือภาษาอังกฤษ

  • Kruger, Rayne. The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam. London: Cassell, 1964.
  • Sivaraksa, Sulak. Powers that Be : Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy. Lantern Books, 2000. ISBN 9747449188
  • Stevenson, William. The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I. London: Constable, 2000.

 ดูเพิ่ม

 แหล่งข้อมูลอื่น

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  • พ.ศ.2325
    ได้อัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อเดือนมิถุนายน ในขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ทรงย้ายราชธานีมาอยู่บางกอก บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออก ขนานนามว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้ขุดคลองบางลำพู หรือคลองโอ่งอ่าง เป็นคูพระนคร สร้างกำแพงเมือง และป้อมตามแนวคลองคูเมืองใหม่ และตั้งเสาหลักเมือง สร้างหอกลองขึ้นที่หน้าวัดโพธิ์
  • พ.ศ.2327
    โปรดฯ ให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
  • พ.ศ.2328
    เกิดศึก  " เก้าทัพ "   ที่พม่ายกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ พม่ายกทัพลงไปตีเมืองถลาง คุณหญิงจันทร์ กับน้องสาว ชื่อมุก รบพม่าป้องกันเมืองไว้ได้ ทรงตั้งคุณหญิงจันทร์ เป็นท้าวเทพกษัตรี และนางมุก เป็นท้าวศรีสุนทร
  • พ.ศ.2329
    เสียเกาะหมากให้อังกฤษ (เสียดินแดนครั้งที่ 1)
  • พ.ศ.2331
    สังคยานาพระไตรปิฎก นับเป็นครั้งที่ 9
  • พ.ศ.2336
    เสียมะริด ทะวาย และตะเนาศรี ให้อังกฤษ (เสียดินแดนครั้งที่ 2)
  • พ.ศ.2338
    เชิญพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่ มาไว้ที่วังหน้า หรือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
  • พ.ศ.2347
    ทรงตั้งข้าราชการ และผู้รู้หลายท่านให้รวบรวม และชำระกฎหมาย ซึ่งกระจัดกระจายหายสูญไป ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ประมาณ 9 ส่วน เหลือเพียงส่วนเดียวนั้น ให้เรียบร้อยถูกต้องดั่งเดิม แล้วให้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้ใช้เป็นระเบียบราชการ มาจนถึงรัชกาลที่ 5 คือ ที่เรียกกันในขณะนี้ คือ กฎหมายตราสามดวง (ตราราชสิงห์ คชสีห์ และบัวแก้ว)
  • พ.ศ.2350
    สร้างวัดสุทัศน์
  • พ.ศ.2351
    เชิญพระศรีศากยมุนี จากเมืองสุโขทัย มาให้ประดิษฐานอยู่ใจกลางพระนคร
  • พ.ศ.2352
    รัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต
  • พ.ศ.2362
    ฉลองวัดอรุณราชวราราม เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่ โปรดให้ประกอบพระราชพิธี อาพาธพินาศ สังคายนาสวดมนต์ โปรตุเกสตั้งสถานกงศุลเป็นแห่งแรก
  • พ.ศ.2367
    รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต
  • พ.ศ.2368
    เฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาขอเจรจาทำสัญญาค้าขาย
  • พ.ศ.2369
    เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎ กำเนิดวีรกรรม ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)
  • พ.ศ.2474
    เกิดน้ำท่วมใหญ่ ที่เรียกว่า น้ำท่วมปีเถาะ
  • พ.ศ.2375
    เอ็ดมันด์ โรเบิร์ด เข้ามาขอทำสัญญาการค้าไทย - อเมริกา เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ.2378
    หมอบรัดเลย์ มาถึงไทยนำแท่นพิมพ์หนังสือ กับตัวพิมพ์มาด้วย
  • พ.ศ.2387
    พวกมิชชันนารี ทำหนังสือพิมพ์ข่าวเป็นภาษาไทยขึ้น เป็นครั้งแรก ใช้ชื่อหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอเดอร์
  • พ.ศ.2392
    เกิดอหิวาตกโรคระบาด ที่เรียกว่า ห่าลงปีระกา มีคนล้มตายหลายหมื่นคน
  • พ.ศ.2394
    เริ่มรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสวมเสื้อ ในเวลาเข้าเฝ้า สตรีในคณะมิชชันนารี เข้าไปสอนภาษา ในพระบรมมหาราชวัง
  • พ.ศ.2400
    ส่งฑูตไปเจริญทางพระราชไมตรี ยังประเทศอังกฤษ กำเนิดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รุ่นแรกของไทย เริ่มออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา เริ่มสร้างกำปั่นรบกลไฟ
  • พ.ศ.2404
    โปรดฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงตอนใต้ ที่เรียกว่า ถนนตก และถนนสีลม ในรัชกาลสมัยนี้ ได้เปลี่ยนใช้เงินตราใหม่ เป็นเงินเหรียญ ทั้งเงินบาท เงินสลึง และเงินเฟื้อง กับทำเหรียญทองแดง อันละโสฬส อันละอัฐ อันละซีก เรียกว่าไพ เป็นเงินย่อยแทนเบี้ย
  • พ.ศ.2405
    นางแอนนา เลียวโนเวนส์ เข้ามารับราชการครู สอนภาษาอังกฤษ ในราชสำนัก
  • พ.ศ.2406
    โปรดฯ ให้สร้างถนนบำรุงเมือง สร้างพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งค้างตั้งแต่รัชกาลที่ 3 โดยให้สร้างฐานเป็นภูเขา แล้วสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอด เรียกว่า พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) และในปีนี้เริ่มมีเงินกระดาษออกใช้
  • พ.ศ.2410
    ตั้งเซอร์ จอห์นเบริง เป็นเอกอัครราชฑูตไทย ประจำยุโรป
  • พ.ศ.2411
    เสด็จทอดพระเนตร สุริยุปราคามิดดวงที่หว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์
  • พ.ศ.2416
    รัชกาลที่ 5 มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา เสด็จออกทรงผนวช เมื่อทรงลาผนวช ทรงว่าราชการสิทธิ์ขาดด้วยพระองค์เอง เลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นการจัดการรั่วไหลของภาษีอากร ซึ่งพวกเจ้านาย และขุนนางบางคน มีผลประโยชน์จากภาษีอากรนี้ และยังเป็นการรวบรวมเงินของรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการ ปฎิรูปการปกครอง
  • พ.ศ.2417
    ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of state) หรือรัฐมนตรีสภา ประกอบด้วย เจ้านาย และขุนนางอาวุโส 20 คน และองคมนตรีสภา (Privy Council) ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียน อายุลูกทาส ลูกไทย
  • พ.ศ.2425
    ฉลองพระนครครบรอบ 100 ปี เมอสิเออร์เดอร เลสเซป ที่ขุดคลองสุเอช เข้าเฝ้าจะขอขุดคลองคอคอดกระ แต่ระงับไป
  • พ.ศ.2429
    สถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามราชกุมาร
  • พ.ศ.2430
    ตั้งกรมศึกษาธิการ ตั้งกรมยุทธนาธิการ (กระทรวงกลาโหม) กำเนิดโรงเรียนนายร้อยทหารบก
  • พ.ศ.2431
    เสียแคว้นสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศส (เสียดินแดนครั้งที่ 8)
  • พ.ศ.2433
    ประกาศใช้ศักราชใหม่ เรียกว่า   " รัตนโกสินทรศก "   เป็นรัตนโกสินทรศก 108 และใช้วันทางสุริยคติ ในทางราชการ
  • พ.ศ.2435
    ตั้งกระทรวงครั้งใหญ่ 12 กระทรวง กำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรก ตั้งศาลโปริสภา ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหาร ในยุโรปรุ่นแรก
  • พ.ศ.2436
    เปิดรถไฟเอกชนสายปากน้ำ ฉลองพระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
  • พ.ศ.2437
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามกุฎราชกุมารทิวงคต โปรดให้สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสยามมกุฎราชกุมารแทน
  • พ.ศ.2442
    เริ่มสร้างทางรถไฟสายใต้ และสร้างถนนราชดำเนินนอก
  • พ.ศ.2448
    โปรดฯ ให้เลิกทาส
  • พ.ศ.2449
    ยกเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง เมืองศรีโสภณ หรือมณฑลบูรพา ให้ฝรั่งเศส แลกกับเมืองตราด (เสียดินแดนครั้งที่ 12)
  • พ.ศ.2451
    ยกเมืองไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ (เสียดินแดนครั้งที่ 13) ปีนี้ได้เริ่มใช้มาตราการเงินใหม่ มีอัตรา 1 บาท เท่ากับ 100 สตางค์
  • พ.ศ.2453
    พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์
  • พ.ศ.2454
    ทรงตั้งกองเสือป่า และกองลูกเสือขึ้นในปีนี้ ได้เกิดกบฎ ร.ศ.130   ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสนอ แนวทางปฏิวัติประชาธิปไตย ทรงพระกรุณาลดโทษ พวกกบฎเรื่อยมา จนในที่สุดได้ปล่อยจนหมด
  • พ.ศ.2455
    เปลี่ยนใช้ศักราชใหม่เป็น  " พุทธศักราช "
  • พ.ศ.2459
    โปรดฯ ให้เลิกหวย ก.ข. และปีต่อมา โปรดฯ ให้เลิกโรงบ่อนเบี้ยจนหมด
  • พ.ศ.2460
    ประกาศสงคราม เข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรรบเยอรมัน เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม และส่งทหารไปฝรั่งเศส ได้เปลี่ยนธงชาติ เป็น ธงไตรรงค์ ในปีนี้ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้น
  • พ.ศ.2461
    ทรงทำการทดลอง การปกครองแบบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี เป็นนครประชาธิปไตยขึ้น มีรัฐธรรมนูญ และมีสภา
  • พ.ศ.2462
    ไทยได้ร้องขอนานาประเทศ ให้เปลี่ยนแปลงสัญญาที่ทำกันไว้ ในเรื่องการศาล และเรื่องภาษี ร้อยชักสาม เพื่อให้ไทยมีอิสระในการศาล และการภาษีอากร สหรัฐอเมริกาตกลงยินยอม แต่นานาประเทศในยุโรปยังไม่ได้ตกลง
  • พ.ศ.2468
    โปรดฯ ตั้ง ดร.ฟรานซิส บี.แซร์ ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการต่างประเทศ เป็นพระยากัลยาณไมตรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จสวรรคต
  • พ.ศ.2469
    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยมีอิสระเต็มที่ในทางการศาล และการเก็บภาษีอากร
  • พ.ศ.2475
    พิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ตั้งมาครบรอบ 150 ปี และเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ วันที่ 24 มิถุนายน เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็น ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
  • พ.ศ.2477
    สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติ รัฐสภาได้มีมติอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์
  • พ.ศ.2489
    รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

80 ปีประชาธิปไตยไทยยังมีปัญหา

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2555 เวลา 15:52 น.
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง (สพม.)ได้จัดเสวนาการกระจายอำนาจกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทยในหัวข้อ “ทิศทางของการกระจายอำนาจของประเทศไทย : อดีต ปัจจุบัน อนาคตความคาดหวังและโอกาสแห่งความสำเร็จ”
โดยนางลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง คนที่สอง กล่าวว่า 80 ประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมายังลุ่มๆดอนๆ เพราะยังมองไม่เห็นการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม ทั้งวงจรอุบาทในการซื้อสิทธิขายเสียง ที่ผ่านมามีการนำแผนงานไปบรรจุเพื่อบังคับใช้ทั้งการเขียนเป็นมาตราสวยหรูในรัฐธรรมนูญแต่ก็ยังไม่เกิดผล
ทั้งนี้ สพม.คิดว่าปัญหาประชาธิปไตยมาจากปัญหาพื้นฐานทางสังคม จากที่ได้ลงไปดูสภาประชาธิปไตยชุมชนใน 76 จังหวัดนั้นพบว่าจังหวัดที่มีความพร้อมและประชาชนตื่นตัวจังหวัดแรกคือ จ.อำนาจเจริญ ที่ประชาชนออกมาประกาศธรรมนูญ จ.อำนาจเจริญ เพื่อจัดการตนเอง เพราะการแก้ไขปัญหาโครงสร้างสังคม หากยังรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางอยู่จะแก้ไขปัญหาไม่ได้ ต้องกระจายอำนาจคืนให้ประชาชน
ด้านนายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า การกระจายอำนาจท้องถิ่นเป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะการเลือกตั้งระดับชาติมักมีคะแนนเสียงมากจากการท้องถิ่น ประเทศไทยรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากกว่าการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น โดยผูกขาดจากระบบการเมืองระดับชาติ ทำให้มีปัญหากับราชการส่วนกลางโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากไม่มีความเชื่อมโยงร่วมกัน การบริหารงานบุคคลและการสั่งการของท้องถิ่นถูกครอบงำจากส่วนกลาง ทั้งนี้เราจะเห็นปัญหาหลายอย่างสะท้อนอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากนโยบายส่วนกลางที่ลงไปสู่ท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการจัดการตนเอง ต้องรออำนาจส่วนกลาง ดังนั้นต้องทำให้ท้องถิ่นมีอำนาจปกครองตนเองไม่ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายการเมือง
ขณะที่ นายอุดร ตันติสุนทร ประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อดีตรมช.มหาดไทยและอดีต ส.ว. กล่าวว่า ตนมั่นใจว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นฐานรากของ ประชาธิปไตยและเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะทำงานพิเศษที่เชี่ยวชาญเรื่องการ กระจายอำนาจท้องถิ่นแก้ไขปัญหาภายใน 10 ปี เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี เพราะรัฐบาลไม่สามารถทำได้ แต่ท้องถิ่นสามารถทำได้ อีกทั้งส.ส.ไทยหากสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตนเสนอให้มีส.ส.สัดส่วน 250 คนและส.ส.เขต 250 คน เพราะการบริหารบ้านเมืองมีรัฐมนตรีที่มาจากส.ส.เขตนั้นไม่เพียงพอ ต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถ ตนอยากให้สภาฯของเราเป็นสภาฯที่มีคุณภาพ.

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

UTM Zone ในประเทศไทย

UTM Zone ในประเทศไทย



ระบบ Universal Transverse Mercators : UTM 

หรือระบบพิกัดฉาก ขอบเขตครอบคลุมพื้นที่
ทั้ง หมดบนโลก ระหว่าง Latitude  84 องศาเหนือ และ Latitude  84 องศาใต้ มีหน่วยในการวัดเป็นเมตรพื้นที่โซนจะแบ่งตามระยะองศา Latitude เรียกว่า Zone

การแบ่ง Zone ในระบบ UTM

พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ 
6 องศาLatitude จะเท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร  โซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศาตะวันตก และมีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก  ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน  โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 174 องศาตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก

UTM Zone ในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง 2 โซน ได้แก่ Zone 47 และ Zone 48 
- Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทาง
ทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร 

- Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร 
UTM ThailandUTM Zone 47-48
พื้นที่ Zone 47 และ Zone 48

zone 47-48
จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48


จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
1.จันทบุรี
2.ปราจีนบุรี
3.สระแก้ว
4.นครราชสีมา
5.ชัยภูมิ
6.ขอนแก่น
7.เลย
8.หนองบัวลำภู (บางส่วน)
9.นราธิวาส (บางส่วน)

ละติจูด ลองจิจูด

“เส้นรุ้ง” กับ “เส้นแวง” เป็นคำที่หลายๆ ท่านเคยเรียนในสมัยอยู่โรงเรียน ท่องคำว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง” และความหมายที่ตรงกันคือ เส้นรุ้งคือละติจูด และเส้นแวงคือลองจิจูด 
  
ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์และให้รายละเอียดของละติจูด ลองจิจูด ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไว้ดังนี้
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านGlobe4Kids12532ตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช

เส้นเมริเดียน และเมริเดียนกรีนิช มีความหมายว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) คือ ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือ และขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลก ซึ่งเรียกว่าเหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น
เมริเดียนกรนิช (Greenwich meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน อังกฤษ ใช้เป็นศูนย์ในการกำหนดค่าต่อไปนี้ 1) พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นจุดตั้งต้นของค่าลองจิจูด ซึ่งใช้ประกอบกับค่าละติจูดในการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยเมริเดียนกรีนิชนี้จะมีค่าลองจิจูด 0 (ศูนย์) องศา  2) เวลามาตรฐานสากล เวลาของท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก 1 องศา จะเร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที แต่ถ้าอยู่ห่างไปทางตะวันตก 1 องศา จะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว อะไรจะเกิดขึ้น !?

ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายบนโลกผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง (Glaciers) จำนวน 32 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันนี้ธารน้ำแข็งเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ หากธารน้ำแข็งทั้งหมดบนโลกและน้ำแข็งอื่นๆ บนพื้นผิวละลายไปจนหมด ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 270 ฟุต หรือ 70 เมตร

ธารน้ำแข็งอาจมีอายุยาวนานหลายล้านปี การเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มขึ้นหรือการหดตัวของธารน้ำแข็งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ปกติธารน้ำแข็งจะไหลหรือเคลื่อนที่อย่างช้าๆ และใช้เวลาเป็นศตวรรษหรือนับพันปี ทว่าขณะนี้มันเปลี่ยนแปลงภายในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น


ปี ค.ศ.2003 ดาวเทียมตรวจสภาพแวดล้อม "เทอรา" ขององค์การนาซ่าตรวจพบว่าน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิลขั้วโลกเหนือละลายไปเป็นจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โครงการเทอรากล่าวว่า นี่คือหลักฐานแสดงว่าโลกร้อนขึ้น ซึ่งเกิดจากน้ำมือของมนุษย์และเป็นสัญญาณในระดับอันตราย



ต่อมาในปี ค.ศ.2004 นักวิทยาศาสตร์สองทีมเผยผลการศึกษาสภาวะโลกร้อนขึ้น ซึ่งได้ผลตรงกันว่าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นราว 1 องศาฟาเรนไฮต์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 และในบริเวณอาร์กติกอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 4-7 องศาฟาเรนไฮต์ ในรอบ 50 ปีเลยทีเดียว มันทำให้ปริมาณหิมะลดลงและธารน้ำแข็งละลายลงสู่ทะเล การเปลี่ยนแปลงนี้ยังคุกคามต่อชีวิตหมีขั้วโลก 25 ปีที่ผ่านมา พวกมันลดจำนวนลง 15 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักตัวลดลดลงด้วย
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งบริเวณแอนตาร์กติกาขั้วโลกใต้ และอาร์กติกขั้วโลกเหนือละลายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งก็ละลายจนแตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาหลายก้อน


การศึกษาล่าสุดโดยทีมวิจัย British Antarctic Survey(BAS) นำโดย อลิสัน คุก ซึ่งตีพิมพ์ผลงานในนิตยสาร journal Science ฉบับวันที่ 22 เมษายน 2005 เผยว่า ธารน้ำแข็งจำนวน 84 เปอร์เซ็นต์ ในบริเวณบางส่วนของแอนตาร์กติกาหดตัวจากการละลายตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุอุณหภูมิที่สูงขึ้น

ทีมวิจัยบาสศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศจำนวน 2,000 ภาพ ซึ่งบางภาพถ่ายไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1940 รวมทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วย



คุกกล่าวว่า ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งเกือบทั้งหมดบริเวณแอนตาร์กติกาซึ่งไหลลงจากภูเขาสู่ทะเลยาวขึ้นอย่างช้าๆ ตลอดมา ทว่า เดี๋ยวนี้มันกลับตรงกันข้าม "5 ปีหลังธารน้ำแข็งส่วนใหญ่หดตัวอย่างรวดเร็ว"
เดวิด วอนจ์ นักธารน้ำแข็งวิทยา หนึ่งในทีมสำรวจบอกว่า "การหดตัวของธารน้ำแข็งจำนวนมากบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกาในช่วงเวลา 50 ปี มีสาเหตุใหญ่จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ"






ทีมวิจัยบาสเชื่อว่า อากาศบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกาคงที่เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุด 1800 ปี แต่ปัจจุบันนี้มันกำลังเปลี่ยนแปลงไป 50 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิบริเวณนี้สูงขึ้น 4.5 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 2.5 องศาเซลเซียส มากกว่าพื้นที่อื่นๆ ในบริเวณขั้วโลกใต้

ทางด้านอาร์กติกขั้วโลกเหนือ ธารน้ำแข็งก็หดสั้นลงและละลายอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันกับขั้วโลกใต้


ปลายเดือน ธันวาคม 2004 ทีมสำรวจธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์รายงานว่า ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดของกรีนแลนด์ชื่อ "Jakobshavn Isbrae" มีอัตราการละลายเป็นสองเท่าจากเดิมและไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งนี้เคยไหลลงทะเลในอัตราความเร็ว 3.45 ไมล์ต่อปี ในระหว่างปี 1992-1997 แต่ในปี 2003 มันไหลด้วยอัตราความเร็ว 7.83 ไมล์ต่อปี และความหนาของมันลดลงราว 49 ฟุตในทุกๆ ปีนับตั้งแต่ปี 1997เป็นต้นมา

ผลจากการละลายอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น .002 นิ้วต่อปี(.06 มิลิเมตร) หรือราว 4 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลในศตวรรษที่ 20 และธารน้ำแข็งอื่นๆ ในกรีนแลนด์ก็บางลงประมาณ 1 เมตรต่อปี ซึ่งเกิดจากการละลายด้วยสาเหตุโลกร้อนขึ้น



โลกร้อนขึ้นเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก(greenhouse effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ชั้นบรรยากาศของโลกถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกั้นรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวโลกไม่ให้สะท้อนกลับขึ้นสู่อวกาศ เหมือนเรือนกระจกที่ใช้เพาะปลูกต้นไม้ในประเทศเขตหนาว ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านเข้าไปภายในเรือนกระจกได้แต่ความร้อนยังคงอยู่ภายใน


ก๊าซไนตรัสออกไซด์(N 2 O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน(HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน(CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์(SF6) โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและยานยนต์เพิ่มปริมาณจาก 278 ส่วนในล้านส่วนก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น 380 ส่วนในล้านส่วนในปี 2003

ผลการศึกษาภาวะโลกร้อนชิ้นล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์นาซ่า มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์กและห้องปฏิบัติการลอว์เรนซ์เบิร์กเลย์ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารไซน์ ฉบับล่าสุดสรุปว่า โลกดูดกลืนพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าที่สะท้อนหรือแผ่กลับไปสู่อวกาศทำให้พลังงานอยู่ในสภาวะ "ไม่สมดุล" ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น


ความไม่สมดุลของพลังงานมีค่าเท่ากับ 0.85 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งจะทำให้โลกร้อนขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์



เมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้
จิม แฮนเซน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ จาก NASA"s Goddard Institute for Space Studies อธิบายว่า ความไม่สมดุลของพลังงานเป็นผลมาจากพอลลูชั่นในชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน และอนุภาคคาร์บอนดำ พอลลูชั่นเหล่านี้กั้นความร้อนที่แผ่จากโลกที่ไปยังอวกาศ และยังเพิ่มการดูดกลืนแสงอาทิตย์อีกด้วย


เมื่อ 30 ปีก่อน นักอุตุนิยมวิทยาทำนายไว้ว่าภาวะโลกร้อนจะปรากฏเด่นชัดในบริเวณขั้วโลก ขณะนี้มันกลายเป็นความจริงแล้ว

การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งที่ขั้วโลกไม่เพียงแต่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเท่านั้น แต่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเคมีในมหาสมุทร การไหลเวียนของบรรยากาศและมหาสมุทรและระบบอากาศของโลกด้วย



แผ่นน้ำแข็ง ลาร์เซน บี ถ่ายจากเรือสำรวจ เจมส์ คลาร์ก รอส ของทีม วิจัยบาส เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2002
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมี 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO 2) ก๊าซมีเทน(CH 4)

(ภาพบน) ภาพถ่ายปริมาณน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิล โดยดาวเทียมเทอราเมื่อปี ค.ศ. 1979

(ภาพล่าง) ภาพถ่ายปริมาณน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิล โดยดาวเทียมเทอราเมื่อปี ค.ศ. 2003
ทีมวิจัยบาสเคยทำนายไว้ในปี ค.ศ. 1998 ว่า แผ่นน้ำแข็งชายฝั่งหลายก้อนรอบๆ คาบสมุทรแอนตาร์กติกาจะละลายเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น

คำทำนายนี้กลายเป็นความจริงและรุนแรงกว่าที่คาดหมายไว้มาก มันเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 7 มีนาคม 2002 แผ่นน้ำแข็งชายฝั่งชื่อ ลาร์เซน บี (Larsen B ice shelf) ขนาด 3,250 ตารางกิโลเมตร และหนา 200 เมตร ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรแอนตาร์กติกาแตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ และเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อยอีกนับพันชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดยาว 100 ไมล์ ชื่อ B15A และกลายเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และล่าสุดเมื่อวันที่ 3 1 มกราคม 2005 แผ่นน้ำแข็งลาร์เซน บี แตกอีกครั้งหนึ่ง ส่วนที่แตกออกกลายเป็นภูเขาน้ำแข็ง ขนาด 16 คูณ 35 ตารางไมล์ ชื่อ A-53